โครงการริเริ่มโดยองค์กรพัฒนาเอกชนช่วยเปลี่ยนวิถีการบริโภคให้ยั่งยืนกว่าเดิม
องกรค์พิทักษ์สัตว์ซิเนอร์เจีย แอนิมอลนำเสนอโครงการสนับสนุนผู้ที่สนใจหันมาทานอาหารแบบแพลนต์เบส โดยมีคำแนะนำจากมืออาชีพและชุมชนออนไลน์คอยช่วยเหลือ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
เมื่อผู้คนเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น จำนวนคนที่หันมาใช้ชีวิตแบบวีแกนหรือบริโภคอาหารแพลนต์เบสจึงเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2018 กว่า 70% ของประชากรโลกประกาศว่าจะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เกิดจากการขับเคลื่อนของหลายองกรค์ รวมทั้งซิเนอร์เจีย แอนิมอล ซึ่งดำเนินโครงการสนับสนุนไลฟ์สไตล์แบบวีแกน ในประเทศแถบลาตินอเมริกา อินโดนีเซีย และประเทศไทย
แม้ว่าการใช้ชีวิตแบบวีแกนมักถูกเข้าใจว่าเป็นเทรนด์ในจากยุโรปและอเมริกาเหนือ ความสนใจต่อวิถีนี้ในประเทศกำลังพัฒนาก็มาแรงไม่แพ้กัน โดยเฉพาะประเทศไทย บริษัทสตาร์ทอัพต่างๆ หันมาลงทุนกับเนื้อเทียมมากขึ้น ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความต้องการผลิตภัณฑ์แพลนต์เบสได้พุ่งสูงขึ้นถึง 440% ในระหว่างปี 2012 ถึง 2016
“เราช่วยผู้คนเปลี่ยนมากินอาหารวีแกน ผ่า่นโครงการท้าลอง 22 วัน ภายในโครงการ ผู้เข้าร่วมจะได้รับคำแนะนำจากนักกำหนดอาหาร และพี่เลี้ยงวีแกนมากประสบการณ์ สูตรอาหารอร่อยๆ และคำแนะนำอื่นๆ อีกมากมาย ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่โครงการของเรานำผู้คนใหม่ๆ มาสู่ชุมชนวีแกนและร่วมหันมาใช้ไลฟสไตล์ที่เป็นมิตรต่อโลก ต่อสัตว์ และสุขภาพมากขึ้น” ธีรธร กล่อมเกลา ผู้จัดการโครงการท้าลอง 22 วัน จากซิเนอร์เจียแอนิมอล กล่าว
ปีใหม่ วิถีใหม่
เมื่อโควิด-19 ระบาด หน่วยงานและสถาบันต่างๆ ได้ตั้งข้อสังเกตและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นความเชื่อมโยงการผลิตและบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ กับประเด็นด้านความยั่งยืน ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และสาธารณสุข ธีรธรกล่าวว่า “หลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายชี้ชัดว่าการปศุสัตว์มีความเกี่ยวโยงกับความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคระลอกใหม่ โรคระบาดใหม่นี้อาจเริ่มจากสุกรและไก่ที่ถูกเพาะเลี้ยงในอุตสาหกรรมปศุสัตว์” ข้อมูลจากสหประชาชาติเผย 75% ของโรคระบาดนั้นมาจากสัตว์และอุตสาหกรรมปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงและกักขังสัตว์นับพัน ซึ่งเป็นการปฎิบัติที่แพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม อาจเป็นสะพานที่จะนำโรคระบาดจากสัตว์มาสู่คน
นอกจากนั้น นักรณรงค์และนักอนุรักษ์จากทั่วโลกก็ยอมรับแล้วว่า อาหารแพลนต์เบส คือการแสดงจุดยืนทางศีลธรรมในประเด็นเกี่ยวกับสิทธิสัตว์ และทางเลือกใหม่ที่ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากกว่า ธีรธร กล่อมเกลา กล่าว
“เรามั่นใจว่าปัจจัยเหล่านี้ และปัจจัยอื่นจะทำให้ผู้คนหันมาลองบริโภคอาหารแพลนต์เบสกันมากขึ้น และเข้าร่วมชุมชนชาววีแกนของเรา เพื่อเปลี่ยนตัวเองในปีใหม่นี้”
ลองท้าทายตัวเองในปีใหม่
โครงการท้าลอง 22 วันของซิเนอร์เจีย แอนิมอลสนับสนุนผู้ที่ต้องเริ่มบริโภคอาหารแพลนท์เบส โดยมีคำแนะนำจากพี่เลี้ยงวีแกนมากประสบการณ์และนักกำหนดอาหารมืออาชีพ ภายในปี 2563 เพียงปีเดียว ก็ผู้ลงชื่อเข้าร่วมโครงการกว่า 11,000 คนนอกจากการสนับสุนข้างต้นแล้ว โครงการยังอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระ สูตรอาหาร การพูดคุยอย่างเป็นกันเองในหมู่สมาชิก และกิจกรรมสนุกๆ อีกมากมาย
ลงชื่อร่วมโครงการท้าลอง 22 วัน ฟรี! ได้ที่ thaichallenge22.org
コメント