ธารน้ำแข็งเก่าแก่ในไอซ์แลนด์ ละลายหมดแล้ว
ภาวะโลกร้อนทำให้ไอซ์แลนด์ได้สูญเสียธารน้ำแข็งแห่งแรกไปอย่างไม่มีวันหวนคืน ธารน้ำแข็งเกิดจากหิมะที่ละลาย แล้วทับถมกันจนเป็นก้อนหนา และเคลื่อนตัวลงที่ลาดชันเช่นไหล่เขาอย่างช้าๆ โดยมากจะใช้เวลาร้อยปีกว่าจะเป็นธารน้ำแข็ง เชื่อกันว่าธารน้ำแข็งที่ชื่อว่า Okjökull มีอายุว่า 700 ปี และตอนนี้ก็ได้ละลายหายไปจนสิ้นแล้ว ธารน้ำแข็งนี้เคยครอบคลุมพื้นที่กว่า 16 ตารางกิโลเมตร แต่เมื่อปี 2012 เหลือเพียง 0.7 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น
ภาพเปรียบเทียบธารน้ำแข็ง Okjökull จากวันที่ 14 กันยายน ปี 1986 (ภาพทางซ้ายมือ) กระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม ปี 2019 (ภาพทางขวามือ) จากนาซ่า
ข่าวนี้เป็นที่น่ากังวลอย่างมาก กระทั่งผู้คนกว่าร้อยคนรวมตัวกันเดินขบวนขึ้นยอดเขาเพื่อ "ไว้อาลัยแด่ธารน้ำแข็ง" หนึ่งในผู้คนเหล่านั้นคือ คาตริน ยาคอปสโตว์ทีร์ นายกรัฐมนตรีของไอซ์แลนด์ และแมรี รอบบินสัน อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ขณะนี้ ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ยูเอ็นกังวลอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนแล้วว่าปัญหาโลกร้อนอาจะทำให้สิทธิมนุษยชนต้องจบสิ้น และทำให้เกิด “การแบ่งชนชั้นด้านภูมิอากาศ” (Climate apartheid) และสรุปว่าการเปลี่ยนมาบริโภคอาการจากพืชเป็นทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงได้
ไอซ์แลนด์จะได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ไว้ว่า หากเรายังปล่อยก๊าซในระดับเท่าเดิมต่อไป ธารน้ำแข็งกว่า 400 แห่งที่ปกคลุมกว่า 11 เปอร์เซ็นต์ของประเทศอยู่ในขณะนี้ อาจจะละลายหายไปจนหมดสิ้นภายในปี 2200 โดยทั่วไปแล้ว ขณะนี้ น้ำแข็งที่ปกคลุมผิวโลกละลายในอัตรารวดเร็วกว่าเมื่อช่วงปี 1960 ถึงห้าเท่า
งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature คาดการณ์ว่า ระหว่างปี 1961 ถึง 2016 โลกเราสูญเสียธารน้ำแข็งไปกว่าสามพันล้านตัน น้ำแข็งปริมาณขนาดนี้ หากเป็นตกเป็นหิมะความหนาสี่ฟุต จะปกคลุมประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทั้งประเทศ(ไม่รวมรวมอลาสก้าและฮาวาย) อีกงานวิจัยหนึ่งชี้ว่า ธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์จะละลายหายไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2100
แม่ว่าคุณจะไม่ได้อยู่ในภูมิภาคเหล่านี้ นี่ก็ถือเป็นปัญหาของคุณเช่นกัน น้ำแข็งที่ละลายเป็นตัวการทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกว่า 25 - 30 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละปี งานวิจัยซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยนาซาระบุว่า ในมหาสมุทรแอนตาร์ติกา ธารน้ำแข็ง Thwaites ใกล้ถึงจุดที่จะละลายไหลลงทะเล และจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีก 50 เซ็นติเมตร และนี่ก็ไม่ใช่ธารน้ำแข็งแห่งเดียวในพื้นที่เสี่ยงด้วยซ้ำ
ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองตามชายฝั่งรอบโลกต้องตกอยู่ในความเสี่ยงน้ำท่วม และพายุฝน ภายในปี 2100 ผู้คนกว่าหนึ่งในห้าของประชากรทั้งหมดในโลกอาจจะต้องผลัดถิ่น และย้ายไปอยู่ลึกเข้าไปในทวีป ไกลจากชายฝั่ง
นอกจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นแล้ว ก็ยังมีผลกระทบอื่นๆ จากน้ำแข็งละลาย ได้แก่ปริมาณน้ำจืดสำหรับการเกษตรและการใช้ภายในบ้าน อาหารจะหายากขึ้น และราคาข้าวของต่างๆ จะสูงขึ้น ธัญพืชจะสูญเสียคุณค่าทางอาหาร ชีวิตสัตว์ป่าตกอยู่ในอันตราย
อุณภูมิที่ทำให้น้ำแข็งละลาย ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้โลกอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ ข้อมูลจากองค์กรอวกาศยุโรประบุว่าเดือนมิถุนายนของปี 2019 เป็นเดือนที่อุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ซึ่งสูงกว่าปกติสององศาเซลเซียส
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทั้งหมดนี้เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ และหายนะเหล่านี้ก็ทำให้พวกเราต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน
มีสิ่งหนึ่งที่พวกเราทุกคนทำได้ทุกวันเพื่อช่วยโลกใบนี้ คือเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเรา และเลิกกินเนื้อสัตว์ นม และไข่
การปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 14.5 ถึง 18 เปอร์เซ็นต์ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่า เนื้อวัวเป็นตัวการผลิตก๊าซเรือนกระจกกว่า 41 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซทั้งหมด ส่วนการผลิตนมวัวผลิตก๊าซ 20 เปอร์เซ็นต์
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น การปศุสัตว์เป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าภาคการคมนาคมทั้งโลกรวมกัน ในปี 2016 บริษัทผู้ผลิตเนื้อรายใหญ่สามราย ได้แก่ เจบีเอส คาร์กิล และไทสัน ผลิตก๊าซเรือนกระจกมากกว่าฝรั่งเศสทั้งประเทศเสียอีก บริษัทผู้ผลิตเนื้อรายใหญ่ห้ารายผลิตก๊าซเรือนกระจกมากกว่าผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหลักสามแห่ง ได้แก่เอ็กซอน เชลล์ และบีพี
นาซ่ากล่าวว่า หากเราหยุดการปล่อยก๊าซตั้งแต่วันนี้ ภาวะโลกร้อนก็จะยังดำเนินต่อไปอย่างน้อยหลายสิบ หรือาจจะหลายร้อยปี
แต่ข่าวดีก็คือ ยังไม่สายเกินไปที่จะหยุดยั้งหายนะภาวะโลกร้อน เพียงแต่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกัน ขอให้ลองคิดเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และหันมาใช้ชีวิตวีแกนดู และช่วยพวกเราเผยแพร่ข้อมูลได้โดยการมาร่วมเครือข่ายอาสาสมัครของเรา