ซิเนอร์เจีย แอนิมอลจับมือองค์กรระดับโลก มุ่งปฎิรูปการผลิตอาหาร รับมือวิกฤตโลกร้อน
ซิเนอร์เจีย แอนิมอล ได้เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรขององค์กรประชาสังคมโลก ซึ่งรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือการเปลี่ยนระบบการผลิตอาหารของโลกเพื่อรับมือกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กลุ่มพันธมิตนี้มีชื่อว่าฟิฟตี้บายโฟร์ตี้ (50by40) ประกอบด้วยองค์กรเอกชนซึ่งทำงานหลากหลายสาขา เช่น สุขภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนเยาวชน ความเชื่อทางศาสนา สวัสดิภาพสัตว์ การพัฒนาองค์กรระดับท้องถิ่น และความเป็นธรรมในสังคม
องค์กรต่างๆ เหล่านี้มีสมาขิกเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกมากกว่า 50 คน ซึ่งเป็นผู้ที่เรียกร้องให้ประเทศรายได้ระดับปานกลางถึงระดับสูงลดปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์ การเรียกร้องดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากด็อกเตอร์เฮเลน ฮาร์วัตต์ นักวิจัยด้านนโยบายบายอาหารและภูมิอากาศจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ภาควิชากฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับสัตว์
ด้วยโครงการดังกล่าว เราขอให้ประเทศต่างๆ ดำเนินการดังต่อไปนี้
- ประกาศกำหนดเวลาสำหรับ “Peak livestock” หรือช่วงเวลาที่การผลิตเนื้อสัตว์ถึงจุดสูงสุด จนต้องลดลงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่อยู่เหนือการควบคุมของผู้ผลิต เช่นดีมานด์ลดลง วิกฤตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ “Peak livestock” เป็นเจตนารมณ์ที่จะกำหนดเพดานการผลิตเนื้อสัตว์จากสัตว์แต่ละสายพันธุ์
- ระบุกิจกรรมการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดและตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซของกิจกรรมนั้นๆ
- ทำให้การผลิตอาหารมีความหลากหลายมากขึ้น แทนที่การปศุสัตว์ด้วยอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าและปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช ผัก เมล็ดพืชต่างๆ
- ฟื้นฟูพรรณไม้ท้องถิ่นในพื้นที่ที่ไม่มีการทำการเกษตร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อะไรคือปัญหาของการปศุสัตว์?
การปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 14.5 ถึง 18 เปอร์เซ็นต์ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ นอกจากนี้ การบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาร้ายแรงอื่นๆ เช่น ปัญหาการขาดสารอาหารที่กำลังรุนแรงขึ้นทุกวัน และพฤติกรรมการบริโภคที่ทำร้ายสุขภาพ ปัญหาพื้นที่ป่าถูกทำลายในอัตราวิกฤต ดิน น้ำ และอากาศปนเปื้อนมลพิษ
การร่วมมือกันครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตของโลกของเราพอดี ในปี 2018 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติรายงานว่า ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นประวัติการณ์ และหากเรายังหาทางผลิตอาหารที่ยั่งยืน ดีต่อสุขภาพ และมีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมโลกมากกว่านี้ไม่ได้ล่ะก็ วิกฤตสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอาจถึงขั้นหายนะอย่างไม่มีวันหยุดยั้งได้
คุณช่วยเราหยุดยั้งวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้ โดยการบริจาคช่วยเหลือการทำงานขององค์กรเรา และหากคุณอยากเริ่มบริโภคอาหารที่ยั่งยืนมากกว่านี้ล่ะก็ ขอเชิญมาร่วมโครงการท้าลอง22วัน แล้วเราจะช่วยคุณเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์