ปี 2018 ก๊าซเรือนกระจกเข้มข้นเป็นประวัติการณ์
หลายฝ่ายต่างถกกันเรื่องวิกฤตภูมิอากาศและอนาคของโลกใบนี้ ระหว่างที่ยังโต้เถียงกันไม่จบ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติก็ประกาศว่า 2018 เป็นปีที่ก๊าซเรือนกระจกมีความเข้มข้นสูงเป็นประวัติการณ์เท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงเกินกว่าค่าที่จะรับได้คือ 407.8 ppm และถือเป็นระดับที่สูงขึ้นกว่าระยะสิบปีที่ผ่านมา ก๊าซมีเธนและกรดไนตรัส ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ 60 และ 40 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ก็มีความหนาแน่นสูงขึ้นมากเป็นประวัติการณ์เช่นกัน
อย่างไรก็ดี รายงานฉบับนี้ไม่ได้กล่าวถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่กล่าวถึงความเข้มข้นของก๊าซในชั้นบรรยากาศเท่านั้น ครั้งล่าสุดที่โลกเรามีคาร์บอนไดออกไซด์หนาแน่นมากถึงระดับนี้คือเมื่อ 3-5 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นตอนที่ดาวเคราะห์โลกอุณหภูมิสูงกว่านี้ 2-3 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลสูงกว่านี้ 10-20 เมตร
สถานการณ์นี้หนักหนาสาหัสมาก กระทั่งเป้าหมายที่ระบุไว้ในความตกลงปารีสก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับมือวิกฤตโลกร้อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวจากความตกลงดังกล่าว สหประชาชาติกล่าวว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งก่อนปี 2030 เพื่อให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเพียง 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ไม่อย่างนั้นแล้วอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นถึง 3.2 องศาเซลเซียส ซึ่งก็ดูมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นตามนั้น เนื่องจากในเดือนมิถุนายนปี 2019 เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์เท่าที่เคยมีการบันทึกมา
ในปี 2020 นี้ หากพลาดแม้แต่นิดเดียว อาจะทำให้เป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเป็นไปไม่ได้ และดาวเคราะห์โลกก็จะต้องเผชิญกับหายนะทางธรรมชาติ เช่นคลื่นความร้อนและพายุโหมกระหน่ำ ฟิลิป แอลสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าวิกฤติภูมิอากาศที่กำลังหนักขึ้นเรื่อยๆ นี้ อาจสิ่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ทำให้เกิด “การเหยียดชนชั้นทางภูมิอากาศ” ผลกระทบมีตั้งแต่ที่เห็นได้ชัด เช่น การริดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อเข้าถึงน้ำ อาหาร และที่อยู่อาศัย ไปจนถึงผลกระทบที่ยังเห็นไม่ชัดเจนมากนัก (ในตอนนี้) เช่น ภัยคุกคามต่อประชาธิปไตย ไปจนถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
แล้วอะไรกันแน่ที่เป็นสาเหตุ?
รายงานจากสหประชาชาติกล่าวว่า มาตรการหนึ่งที่จำเป็นในการแก้วิกฤตคือการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคมาบริโภคอาหารมังสวิรัติ การปศุสัตว์ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 14.5 ถึง 18 เปอร์เซ็นต์จากก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ รายงานจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่าการผลิตเนื้อวัวปล่อยก๊าซเรือนกระจก 44 เปอร์เซ็นต์จากก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในภาคการปศุสัตว์ ส่วนอุตสาหกรรมผลิตนมปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20 เปอร์เซ็นต์ กระบวนการทุกอย่างล้วนมีส่วนสร้างก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่การปลูกพืชเพื่อนำมาเป็นอาหารให้กับปศุสัตว์ การย่อยอาหารและปล่อยก๊าซจากวัว กระทั่งก๊าซจากมูลวัวและกระบวนการจัดการของเสีย
สรุปง่ายๆ ก็คือ การปศุสัตว์นี่เองที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด มากกว่าก๊าซเรือนกระจกจากภาคการคมนาคมทั้งหมดรวมกันเสียอีก ถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจที่ใครๆ ต่างก็คิดว่าเราต้องเลิกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึงภาคการปศุสัตว์
ในปี 2016 บริษัทผู้ผลิตเนื้อรายใหญ่ที่สุดในโลกสามราย ได้แก่ เจบีเอส คาร์กิล และไทสัน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศ บริษัทผู้ผลิตเนื้อวัวและนมวัวรายใหญ่ที่สุดห้ารายของโลก ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันมากกว่าบริษัทผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเช่นเอ็กซซ่อน เชลล์ และบีพี
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
การปศุสัตว์ยังส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีก ทราบไหมว่าพื้นที่เพื่อการเกษตร 75 เปอร์เซ็นต์ (เท่ากับพื้นที่ของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศจีน สหภาพยุโรป และประเทศออสเตรเลียรวมกัน) ใช้เป็นพื้นที่สำหรับการผลิตเนื้อและนมวัว พื้นที่เหล่านี้เคยเป็นป่า และถูกหักล้างถางพงเพื่อผลประโยชน์เชิงพาณิชย์
ที่แย่ไปกว่านั้นคือความจริงที่ว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และนมวัว ให้แคลอรี่เพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และให้โปรตีนเพียง 37 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างเสียเปล่าเป็นอย่างยิ่ง
รายงานจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า น้ำจืดกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ถูกนำไปใช้ในการปศุสัตว์ พืชส่วนใหญ่ที่ปลูกได้ถูกนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ การปลูกพืชก็ต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าปศุสัตว์ใช้น้ำเป็นจำนวนมหาศาล
นี่เป็นเพียงความกังวลแบบทั่วๆ ไป ว่าอนาคตของดาวเคราะห์ดวงนี้จะเป็นอย่างไรกันแน่ ก็จริงอยู่ที่รัฐบาลจะต้องออกนโยบายสาธารณะเพื่อรับมือกับปัญหานี้ แต่เราในฐานะคนธรรมดาก็ต้องทำสิ่งที่ทำได้เพื่อรับมือกับปัญหานี้ เนื่องจากการปศุสัตว์เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงถือเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างยิ่งที่เราจะต้องหยุดบริโภคเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่นๆ รวมทั้งนมและไข่ หากอยากรู้ว่าจะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้อย่างไร ก็คลิกที่นี่เลย
แต่ถ้าหากคุณเป็นวีแกนอยู่แล้ว และอยากช่วยกู้ชีวิตดาวเคราะห์แห่งนี้ไปพร้อมกับเรา ก็ขอเชิญร่วมบริจาคเพื่อให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น