13 บริษัทนมวัวยักษ์ใหญ่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเท่าสหราชอาณาจักร
รายงานฉบับใหม่จากสถาบันเพื่อนโยบายการเกษตรและการค้า (Institute for Agriculture and Trade Policy- IATP) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยไม่แสวงกำไรทำงานส่งเสริมระบบอาหาร, การเกษตรและการค้าที่ยั่งยืนระบุว่า บริษัทนมวัว 13 รายใหญ่ที่สุดในโลก ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันมากเท่าสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหกของโลก
ภายในเวลาเพียงสองปี เมื่อปี 2017 ก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 10% แม้จะมีการลงนามในความตกลงปารีสเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปเมื่อปี 2015 ปริมาณที่เพิ่มมานี้เกือบจะเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากสหราชอาณาจักร หรือก็คือ 350ล้านตัน ต่อปี
ภาพจาก: We Animals
อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจจากรายงานฉบับนี้ก็คือ มีข้อความที่กล่าวว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมนมวัวในช่วงหลายสิบปีหลังที่ผ่านมานี้ทำให้ราคานมวัวลดลงจนต่ำกว่าราคาต้นทุนในการผลิต สถานการณ์นี้ทำให้เกิดวิกฤตในชนบท เนื่องจากว่าเกษตรกรต้องได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจึงจะพยุงตัวให้ไปต่อได้
มากกว่า 90% ของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากบริษัทผลิตนมวัวเกิดจากตัววัวนั่นเอง โดยมากมักจะมาในรูปแบบของก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความเข้มข้นมาก และก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ และไนตรัสอ็อกไซด์จากบรรจุภัณฑ์ การขนส่งและปุ๋ย
โยเซฟ พัวร์ นักวิจัยจาก คณะภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดกล่าวว่า "ก๊าซมีเทนมีความเข้มข้นสูงมาก และทำให้โลกร้อนขึ้นมากในระยะเวลาอันสั้น หมายความว่าก๊าซชนิดนี้เองที่อาจทำให้เกิดภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในแบบที่เราไม่สามารถแก้ไขได้อีก (runaway climate change)”
เท่านั้นยังไม่พอ ในปี 2016 ผู้ผลิตเนื้อสัตว์สามรายยักษ์ของโลก ได้แก่ JBS, Cargill, และ Tyson ก็ยังเป็นผู้ล่อย ก๊าซเรือนกระจกรวมกันมากกว่าประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศเสียอีก บริษัทการปศุสัตว์ใหญ่ที่สุดห้าบริษัทปล่อยมลพิษมากกว่าบริษัทผลิตน้ำมันรายใหญของโลกอย่างExxon, Shell และ BP เสียอีก
ภาพจาก: We Animals
เราจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลงให้ได้ 80 ถึง 90% ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษนี้ ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า แม้เราจะหยุดผลิตพลังงานและการคมนาคมตอนนี้เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน ก็ยังไม่พออยู่ดีเพราะว่าก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์มีเยอะกว่ามาก และเป็นภัยแต่สิ่งแวดล้อมมากกว่า
รายงานฉบับล่าสุดโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization- FAO) และบริษัท Global Dairy Platform ต่างมีข้อสรุปคล้ายๆ กันว่า “เพื่อยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงไปมากกว่านี้ ภาคอุตสาหกรรมนมวัวจะต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ได้และต้องดำเนินงานเพื่อให้เกิดอนาคตคาร์บอนต่ำ”
ปัญหาหลักก็คือความต้องการบริโภคนมวัวกำลังเพิ่มขึ้น ไม่มีทางเลยที่จะมีผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากพอต่อการบริโภคของคนในโลกนี้ โดยยังคงไว้ซึ่งอนาคตที่ยั่งยืน ในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ โลกเราจะเผชิญกับการเติบโตของประชากรอย่างทวีคูณ ถ้าหากยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ความต้องการเนื้อสัตว์และนมวัวก็จะสูงขึ้นอีก หมายความว่าการปล่อยก๊าซจากภาคการเกษตรอาจจะเพิ่มเป็นอีกเท่าตัวภายใน 50 หรือ 60 ปีนี้ ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพราะว่าบางคนได้รับอิทธิพลจากโฆษณา และหลงเชื่อว่าการดื่มนมและกินเนื้อสัตว์นั้นดีต่อสุขภาพ และต้องกินนมและเนื้อสัตว์เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดสารอาหาร
จริงๆ แล้วนมไม่ได้ดีต่อสุขภาพเลย งานวิจัยฉบับหนึ่งสรุปว่า ยิ่งวัยรุ่นดื่มนมวัวมากเท่าไหร่ ในวัยผู้ใหญ่ก็ยิ่งมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมากเท่านั้น นอกจากนี้ งานวิจัยอีกฉบับ ยังระบุว่าการผลิตภัณฑ์จากนมวัวมีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านม เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานและอาจทำให้อายุขัยสั้นลง เนื่องจากภาวะเครียดออกซิเดชั่น
การเปลี่ยนไปบริโภคอาหารที่ยั่งยืนกว่า เช่นอาหารวีแกน เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะทำได้เพื่อรักษาชีวิตของเราให้ดำรงอยู่ต่อไปในดาวเคราะห์ดวงนี้ การกินอาหารแบบแพลนต์เบสมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าอาหารที่มีส่วนผสมจาก "เนื้อสัตว์" เป็นหลัก มาเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสัตว์และเพื่อโลกของเรากันดีกว่า! เราขอเชิญให้คุณมาเข้าร่วม โครงการ ท้าลอง22 วันและมาเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ยั่งยืนกว่าเดิม!