ไทยพบการระบาดของโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนสองโรค
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยพบโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนสองโรค ซึ่งทำให้สัตว์จำนวนนับพันตายลง โรคลัมปี สกิน และ โรคพีอาร์อาร์เอสในสุกร (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) ติดต่อในวัวทั้งหมด 7200 ชีวิตและคร่าหมูกว่า 200 ชีวิตในปีนี้ มีรายงานว่าเกิดการระบาดของโรคโรคลัมปีสกินในโคกระบือในประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ เชื่อกันว่าเป็นครั้งแรกที่พบโรคนี้ในประเทศไทย เชื้อไวรัสดังกล่าวทำให้เกิดอาการ ผิวหนังขรุขระ ตามความหมายของชื่อโรคแล้ว ยังก่อให้เกิดอาการไข้ ภาวะเจริญพันธุ์และความอยากอาหารลดลง
โรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนอีกโรคหนึ่งที่เกิดการระบาดในหมู่สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม คือ โรคพีอาร์อาร์เอส หรือ Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในสุกร ซึ่งทำให้ทางระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ทำงานขัดข้อง จากรายงานพบว่าโรคพีอาร์อาร์เอสพบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดลำพูนเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว รายงานล่าสุดกล่าวว่าโรคพีอาร์อาร์เอสเกิดการแพร่ระบาดในจังหวัดกาฬสินธุ์เมื่อเดือนที่แล้ว และได้คร่าชีวิตลูกหมูอายุสองเดือนจำนวน 38 ชีวิตวในฟาร์มและได้กำจัดลูกหมูเหล่านั้นไปแล้ว ด้วยเหตุว่ายังไม่มีทางรักษาโรคพีอาร์อาร์เอสเป็นการเฉพาะ บางครั้งหมูทั้งฟาร์มจะถูกกำจัดทิ้งแม้ยังไม่แสดงอาการของโรคเพียงเพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อไวรัสจะไม่แพร่ไปฟาร์มอื่น จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีการรายงานว่าเกิดการติดต่อสู่มนุษย์
สิ่งนี้มีผลกระทบต่อเราอย่างไร
แม้กรมปศุสัตว์ได้สั่งซื้อวัคซีนและประกาศว่าหยุดการระบาดโรคลัมปี สกินได้แล้ว การระบาดของทั้งสองโรคนี้เตือนให้เราได้ระลึกว่า ตั้งแต่ก่อนจะเกิดการระบาดของโควิด-19 นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกได้เตือนว่าโรคอุบัติใหม่อาจเกิดจากฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ซึ่งในบางครั้งถือเป็น “แหล่งเพาะเชื้อชั้นดี” สำหรับโรคระบาดระลอกใหม่
สามในสี่ของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่เกิดในคนมีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ หมายความว่า เชื้อโรคเกิดในสัตว์ก่อนที่จะแพร่มาสู่คน ตัวอย่างหนึ่งซึ่งน่าตกใจมากที่สุดคือการระบาดของไวรัสนิปาห์ที่ประเทศมาเลเซียเมื่อปี ค.ศ. 1998 ไวรัสนิปาห์แพร่จากค้างคาวผลไม้มาสู่สุกรในฟาร์มแถบคาบสมุทรมาเลเซีย เมื่อเชื้อไวรัสแพร่มายังมนุษย์ อัตราการตายในมนุษย์สูงกว่าอัตราการตายของสุกรอย่างมีนัยยะสำคัญ คือสูงถึง 40%-70%
โรคติดเชื้อและแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่จบไม่สิ้น มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วอย่างไข้หวัดนกและไข้หวัดหมู โรควัวบ้า โรคอีโบล่า หรือแม้กระทั่งโรคเอดส์/เชื้อเอชไอวี ซึ่งเมื่อสืบสวนโรคกลับไปพบว่า เกิดจากการล่าชิมแปนซีเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว และด้วยการขยายตัวของฟาร์มปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และกักขังสัตว์จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในพื้นที่ที่แคบลงๆ และสกปรกมากขึ้นเรื่อยๆ การอุบัติของโรคระบาดระลอกใหม่จึงมีความเป็นไปได้สูง
ทางเลือกในอนาคต
ยิ่งมนุษย์พึ่งพาสัตว์ในการผลิตอาหารมากเท่าไหร่ อนาคตของมวลมนุษย์ก็ยิ่งจะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) ได้ออกมาเตือนว่า การทำการเกษตรแบบเข้มข้นเพื่อเพิ่มผลผลิต ความต้องการโปรตีนจากสัตว์ที่เพิ่มขึ้น การทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจนำไปสู่การเกิดโรคระบาดอุบัติใหม่ได้
อย่างไรก็ดี ยังมีทางอื่นให้เลือก หากเราจะลดความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดครั้งใหม่ เราต้องสร้างระบบอาหารอย่างยั่งยืนให้ได้ ซึ่งเป็นระบบพึ่งพาสัตว์ให้น้อยลง งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การป้องกันการระบาดใหม่โดยการเปลี่ยนระบบอาหารเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการต้องเยียวยาหลังจากเกิดการระบาดไปแล้วเป็นร้อยๆ เท่า ดังที่เราเห็นจากสถานการณ์โควิด-19
ส่วนในระดับบุคคล พวกเราสามารถลดและเลิกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ หากคุณอยากเริ่มเปลี่ยนวิถีการบริโภคของคุณสู่การบริโภคแพลนต์เบว แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ขอเชิญลงชื่อเข้าร่วมโครงการท้าลอง 22 วัน
หากอยากทำให้มากกว่านี้ ขอเชิญมาร่วมลงชื่อเพื่อขอให้รัฐบาลวางมาตรการเพื่อสร้างระบบอาหารที่ดีกว่า และยั่งยืนกว่าเดิมเพื่อนาคตของเรา
Comments