top of page

5 เหตุผลที่ทำให้ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาไม่ได้ดีไปกว่าการประมง


ด้วยสาเหตุอะไรก็ไม่อาจทราบได้ ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาก็กลายมาเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนกว่า สำหรับคนที่เป็นห่วงเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและการประมงเกินขนาดในแหล่งน้ำธรรมชาติ การเพาะพันธุ์ปลาจึงกลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตปลากว่า 47% ของผลิตภัณฑ์เนื้อปลาทั้งหมดในโลก และจะมาแทนที่การจับปลาจากแหล่งน้ำธรรมมชาติภายในปี 2024


ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา ก็เหมือนฟาร์มอุตสาหกรรมสำหรับสัตว์บก เพียงแต่ว่าสร้างอยู่ใต้น้ำ นั่นก็หมายความว่าทั้งฟาร์มสัตว์บกหรือฟาร์มสัตว์น้ำ ก็ใช้เทคนิคและวิธีการเดียวกันในการกักขัง หาประโยชน์จากสัตว์ เพื่อให้ได้กำไรมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง หอยนางรม หรือหอยสายพันธุ์อื่นๆ ฟาร์มเหล่านี้อาจจะสร้างในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่นทะเลลาป หรือทะเล โดยใช้ตาข่ายหรือกรง หรือจะเป็นบ่อน้ำที่ขุดขึ้นก็ได้ เช่นเดียวกันกับฟาร์มอุตสาหกรรมสำหรับสัตว์บก ฟาร์มเพาะพันธุ์สัตว์น้ำก็เป็นหายนะต่อสิ่งแวดล้อมและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ป่าเช่นเดียวกัน


ดังนั้น ฟาร์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำไมได้ยั่งยืนกว่า หรือดีต่อสัตว์มากกว่าแต่อย่างใด และนี่คือเหตุผล 5 ประการ


1. ปลาก็เป็นสัตว์ที่รับรู้ความเจ็บปวดได้


ปลารับมีอารมณ์ความรู้สึก และมีทักษะทางกายและการรับรู้ เช่นการใช้เครื่องมือในการหาอาหาร หรือจดจำหน้าของปลาตัวอื่น และมนุษย์ได้ งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าปลาสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมได้ เรียนรู้จากความผิดพลาดได้ และยังสร้างสายสัมพันธ์กับสายพันธุ์อื่นๆ ได้อีกด้วย ซึ่งข้อสุดท้ายนี้เองที่ควรจะทำให้เราฉุกคิดได้แล้วว่า ปลาเป็นสัตว์ที่ไม่อารมณ์ความรู้สึก เจ็บปวด และมีความสุขไม่เป็น อย่างที่คนทั่วไปคิดกันจริงๆ หรือเปล่า การค้นพบเหล่านี้แสดงให้เห้นว่าการกักขังปลาไว้ในฟาร์มเช่นนี้เป็นเรื่องที่โหดร้ายทารุณเป็นอย่างมาก



ปลาบางสายพันธุ์รู้จักใช้เครื่องมือ และวิธีการหลากหลายเพื่อหาอาหาร เช่นกะเทาะเปลือกหอยโดยการนำไปกระแทกกับหิน


2. ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลามักจะแออัด และสกปรก


หลักการของฟาร์มปลาไม่ได้ต่างไปจากฟาร์มสำหรับสัตว์บกเช่น ไก่ หมู หรือวัว เท่าใดนัก ปลาถูกเพาะพันธุ์และเลี้ยงในพื้นที่แออัด คับแคบ ไม่มีที่ทางพอให้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ และมักจะมีสภาพความเป็นอยู่ที่ทำให้ปลาเกิดความเครียด ต้องสู้กันเอง ทำให้บาดเจ็บ หากเป็นฟาร์มปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ จะมีการใช้ตาข่ายหรือกรงขังปลาไว้


ในบ่อปลาอันสกปรก คุณภาพน้ำต่ำ หรือในทะเลหรือทะเลสาบ ปลามักจะป่วยเป็นโรคต่างๆ มากมาย และอาจะถูกสายพันธุ์ปรสิตในแหล่งน้ำธรรมชาติกัดกินทั้งเป็น เช่นเห็บทะเล รา และไวรัส ส่วนปลาตัวที่ไม่ถูกกัดกินจนตายไป ก็จะถูกนำไปฆ่าด้วยวิธีการทารุณสารพัด เช่น ปล่อยให้ขาดอากาศหายใจตาย หรือถลกหนัง ผ่าท้องควักไส้ทั้งเป็น ที่กล่าวมานี้นี่เป็นเพียงบางวิธีการเท่านั้น



3. ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไร้ความรับผิดชอบ


เนื่องจากปลาถูกเลี้ยงอยู่ในสภาพที่โสโครก ไร้สุขอนามัย จึงไม่น่าแปลกใจที่ปลามักจะป่วยอยู่ตลอดเวลา ผู้เพาะพันธุ์ปลามักให้ยาปฏิชีวนะแก่ปลา เพื่อป้องกันโรคต่างๆ และเร่งอัตราการเติบโต กระทั่งปลาที่เลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติด้วย คงจะพอคิดภาพตามได้ว่า การกระทำเช่นนี้ทำให้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่างๆ น้ำ และดินที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ และอาจปนเปื้อนเเขื้อแบคทีเรียดื้อยา ออกสู่ธรรมชาติ


นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า “ยาต้านจุลชีพที่ตกต้างอยู่ในเนื้อเยื่อส่วนที่คนนิยมบริโภคของปลาอาจทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ อาหารเป็นพิษ ทำลายสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้และอาจทำให้คนต้องรับเอาอาการดื้อยาปฏิชีวนะไปด้วย” ในขณะที่งานวิจัยบางฉบับระบุว่ายาปฏิชีวนะบางชนิดที่ถูกห้ามใช้ไปกว่า 10 ปีแล้ว ยังถูกใช้ในฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาในบางประเทศ และยังตรวจพบในผลิตภัณฑ์จากฟาร์มปลาบางชนิด


ยาปฏิชีวนะไม่ได้เป็นอันตรายต่อมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ปลาดูดซึมยาปฏิชีวนะไม่ได้ทั้งหมด และยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ก็จะออกสู่ธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเช่นป่าชายเลนชายฝั่ง


4. ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลานำไปสู่การประมงเกินขนาดในมหาสมุทร


เราเข้าใจว่าหลายคนมีเจตนาดี แต่การแย้งว่าฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาจะช่วยแก้ปัญหาด้านความยั่งยืนนั้น ถือเป็นข้อโต้แย้งที่ไม่ถูกต้อง เหตุผลพื้นฐานที่สุดก็คือ ปลากว่า 4 แสน 6 หมื่น ล้าน ถึง 1,100 พันล้านชีวิต ถูกจับมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติในแต่ละปี เพื่อนำมาเป็นอาหารให้ปลาพันธุ์กินเนื้อที่เพาะในฟาร์ม เช่นแซลมอน หรือปลาทิลาเพีย (ชื่อสามัญของปลาบางสายพันธุ์ที่คนไทยนิยมบริโภค เช่นปลานิล)


ในกรณีของปลาแซลมอน การคาดการณ์เชิงอุตสาหกรรมระบุว่า ในการผลิตเนื้อปลาแซลมอนให้ได้หนึ่งกิโลกรัม จะต้องใช้ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ 800 กรัมมาเป็นอาหารให้ปลาแซลมอน และตัวเลข 800 กรัมที่ว่านี้ยังไม่รวมสัตว์น้ำพลอยได้ ซึ่งหมายถึงสัตว์น้ำที่บังเอิญติดแหมาด้วย แสดงว่า ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลานั้น ไม่ได้มาแทนที่การประมงจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ยังกระตุ้นให้เกิดการจับปลาเพิ่ม ทำให้เกิดผลกระทบเดิมๆ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการประมง ได้แก่ ปริมาณสายพันธุ์ในท้องทะเลลดลง ปัญหาสัตว์น้ำพลอยได้ สัตว์น้ำติดในอุปกรณ์ประมง หรือขยะพลาสติก


5. … และยังส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกหลายประการ


ปริมาณสายพันธุ์ในท้องทะเลลดลงไม่ใช่ผลกระทบเพียงอย่างเดียวของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา เมื่อสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเศษจากร่างกายของปลาในฟาร์ม ออกสู่ทะเลสาบ แม่น้ำ หรือทะเล การหมักหมมและย่อยสลายของสารอินทรีย์ทำให้เกิดปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่งซึ่งหมายถึงมลภาวะทางน้ำอันเกิดจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของแพลงก์พืช และสาหร่ายในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ในน้ำไม่มีอ็อกซิเจน และคร่าชีวิตสัตว์น้ำที่อยู่ในบริเวณนั้น ปรากฏการณ์สาห่ายสะพรั่ง หรืออีกชื่อคือ “ยูโทรฟิเคชัน” อันเกิดจากการเพาะพันธุ์ปลานั้น ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในแหล่งน้ำธรรมชาติมากกว่าน้ำเสียจากเขตชุมชนในบางประเทศทั้งหมดรวมกันเสียอีก


เมื่อมีการใช้กรงในทะเล บางครั้งปลาที่เพาะพันธุ์ไว้ก็อาจหลุดออกไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และเนื่องจากว่าแหล่งน้ำธรรมชาติไม่ใช่แหล่งกำเนิดของเขา ทำให้ปลาสายพันธุ์ที่เพราะพันธุ์ไว้กลายเป็นผู้บุกรุก และอาจคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพและสมดุลของบริเวณนั้นๆ โดยทำร้ายสายพันธุ์ปลาท้องถิ่น หรือผสมพันธุ์กับสายพันธุ์ท้องถิ่น ทำให้ลักษณะทางพันธุกรรมผิดเพี้ยน แพร่เชื้อโรคและปรสิต


งานวิจัยหลายฉบับประเมินว่า ในสหรัฐอเมริกา มีสายพันธุ์ปลากว่า 50 สายพันธุ์ที่กลายเป็นสายพันธุ์แปลกถิ่นในแหล่งที่อยู่ธรรมชาติอื่นๆ ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาเป็นหนึ่งในสาเหตุของสายพันธุ์แปลกถิ่น ในปี 2017 เกิดกรณีที่เป็นเรื่องฉาวระดับชาติ ในมลรัฐวอชิงตัน เมื่อปลาแซนมอนนับหมื่นชีวิตหลุดสู่แหล่งน้ำธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ว่า เนื่องจากตาข่ายของฟาร์มขาด เป็นปัญหาใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้


หากคุณเข้าใจแล้วว่าเหตุใดปลาจึงไม่สมควรถูกเพาะพันธุ์อยู่ในฟาร์ม และเห็นว่าเราควรเลิกบริโภคปลา ก็อยากให้ลองหันมาบริโภคอาหารแบบวีแกนดู เราขอนำเสนออีบุ๊ค ซึ่งรวบรวมสูตรอาหารวีแกน หากได้ลองแล้ว คงจะเห็นด้วยกับเราว่าการไม่กินปลานั้นเป็นเรื่องที่ทำได้จริง แถมยังได้อาหารรสชาติอร่อยเหมือนเดิมอีกด้วย คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดอีบุ๊คฟรี!

bottom of page