ไทยในบทบาทครัวโลก: หน้าที่ในการส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาหาร
ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในนาม ‘ครัวโลก’ เพราะหลายๆ เหตุผล ทั้งมีโครงสร้างเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหารที่แข็งแกร่งและมีอาหารที่เหลือแหล่พอเลี้ยงประชากร ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศและความมุ่งมั่นต่อความมั่นคงด้านอาหารยังทำให้ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์มากมาย
เมื่อโลกของเราได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ความปลอดภัยด้านอาหารโลกก็ตกอยู่ในความเสี่ยง เนื่องจากหลายๆ ประเทศต่างกลัวการแพร่กระจายของโรคระบาด จึงมีการบังคับใช้ข้อจำกัดทางการค้า ส่งผลให้การห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก ประเทศเวียดนามและอื่นๆ ต่างก็รีบหยุดการส่งออกเพื่อให้แน่ใจว่ามีอาหารเพียงพอเลี้ยงคนในประเทศ แต่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารสุทธิเพียงรายเดียวในทวีปเอเชีย และสามารถเพิ่มการส่งออกไปยังต่างประเทศได้โดยไม่ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารที่บ้านอีกด้วย
ในขณะที่ความปลอดภัยด้านอาหารโลกกำลังถูกทดสอบด้วยโรคระบาด ภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความขัดแย้งทางการเมือง ไทยในฐานะครัวโลกจะมีส่วนช่วยทำให้ความปลอดภัยด้านอาหารมั่นคงขึ้นหรือไม่?
ความปลอดภัยด้านอาหารและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เราผลิตอาหารได้น้อยลง สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงนี้เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้น ปัญหาขาดแคลนน้ำ ภัยแห้งแล้ง อุทกภัย และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ที่มากขึ้นส่งผลกระทบต่อพืชผลที่คนบริโภคเป็นหลักทั่วโลก เมื่อเราผลิตอาหารได้น้อยลง นั่นหมายถึงมีจำนวนคนที่ขาดแคลนอาหารมากขึ้น น่าแปลกท่ีสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่มาจากปัจจัยที่เกิดจากมนุษย์ หนึ่งในนั้นคือวิธีการผลิตอาหารของเรา และหากเราจะรื้อฟื้นระบบอาหารของเราเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยด้านอาหารโลก เราต้องปฏิวัติระบบอาหารของเราเสียก่อน
ปฏิวัติระบบอาหารของเราด้วย ‘อาหารแห่งอนาคต’
18% ของแคลอรี่ทั้งหมดมาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ แต่กระนั้น การปศุสัตว์ใช้พื้นที่การเกษตรถึง 83% ของพื้นที่การเกษตรกรรมทั่วโลก หากเราเปลี่ยนวิถีการบริโภคของเราให้เป็นอาหารแพลนต์เบสมากขึ้น เราจะลดการใช้ที่ดินการเกษตรได้ถึง 75% และยังเลี้ยงทุกคนบนโลกได้อย่างเพียงพอ นอกจากการปศุสัตว์จะใช้ที่ดิน น้ำ และพลังงานมากกว่าแล้ว อาหารที่ผลิตจากสัตว์เช่น เนื้อแดง นมวัว หรือกุ้งจากฟาร์มกุ้งยังเชื่อมโยงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงที่สุดในระบบอาหาร มาดูตัวอย่างกันว่า 1 กิโลกรัมของอาหารแต่ละชนิดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกี่กิโลกรัม
เนื้อวัว - 70.6 กิโลกรัม
เนื้อแกะ - 39.7 กิโลกรัม
ปลา - 13.6 กิโลกรัม
เนื้อหมู - 12.3 กิโลกรัม
ทีนี้ เรามาดูอาหารแพลนต์เบสกันบ้าง:
เต้าหู้ - 3.2 กิโลกรัม
เมล็ดพืชต่างๆ - 2 กิโลกรัม
ผัก - 0.7 กิโลกรัม
ถั่ว - 0.4 กิโลกรัม
เห็นได้ชัดว่าอาหารแพลนต์เบสเป็นผู้ชนะหากเทียบกันในเรื่องปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่จะถูกปล่อยออกมาจากการผลิตอาหารเหล่านี้ และนี่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่เราควรใช้เมื่อเลือกว่าอาหารประเภทใดจะได้รับเลือกให้เป็น ‘อาหารแห่งอนาคต’ อาหารเพื่ออนาคตจะต้องดีกว่าต่อโลก สุขภาพของเรา และเมตตาสัตว์ และในฐานะที่เป็นครัวโลก ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นจริง
ความพร้อมของไทยในการผลิตอาหารแห่งอนาคต
ประเทศไทยที่เป็นแหล่งของวัตถุดิบแพลนต์เบสหลายชนิดสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์มากมายให้กับภาคอุตสาหกรรมแพลนต์เบสได้ การส่งออกอาหารส่วนใหญ่ของไทยเช่น ข้าว มันสำปะหลัง สัปปะรดกระป๋อง ต่างก็เป็นอาหารแพลนต์เบสอยู่แล้ว นอกจากนี้ ตัวเลขการส่งออกโปรตีนจากพืชของไทยก็เติบโตทุกปี ซึ่งในปี 2021 มีการเติบโตถึง 64% ประเทศไทยยังมีการแข่งขันในด้านการคิดค้นเนื้อแพลนต์เบสที่สูง ผู้ชนะการแข่งขัน ASEAN Food Innovation Challenge ของปี 2021 ก็เป็นทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ที่เอาชนะการแข่งขันด้วยผลิตภัณฑ์ ‘เนื้อวากิวจากพืช 100%’ การเติบโตที่รวดเร็วของภาคอาหารแพลนต์เบสก็ยังกระตุ้นให้รัฐบาลไทยอยากเข้ามาสนับสนุนนวัตกรรมอาหารแพลนต์เบสและส่งเสริมให้ภาคนี้เป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ตามข้อมูลของ Bloomberg Intelligence ตลาดอาหารแพลนต์เบสจะคิดเป็น 7.7 % ของตลาดโปรตีนทั่วโลกภายในปี 2030 โดยมีมูลค่ามากกว่า 162 พันล้านดอลลาร์ ด้วยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากรัฐบาลและนวัตกรรมใหม่ๆ จากภาคเอกชน ประเทศไทยจะกลายเป็นครัวของโลกที่ผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และยั่งยืนมากขึ้นให้กับทุกคนได้
โดยรวมแล้ว ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นหลักที่ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยด้านอาหารของโลกผ่านภาคอาหารแพลนต์เบสของประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็วและมีนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องได้ อาหารแพลนต์เบสเป็นมิตรกับโลกมากกว่าอาหารจากสัตว์มาก งานวิจัยหลายๆ ฉบับก็ยังชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ต่อสุขภาพของการบริโภคอาหารแพลนต์เบส การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน European Journal of Clinical Nutrition แสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารแพลนต์เบสเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตของโรคโควิด-19 แต่หากเราจะเร่งการพัฒนาภาคอาหารแพลนต์เบสของไทยได้ เราจะต้องมีความต้องการหรืออุปสงค์มากขึ้น และในฐานะผู้บริโภค คุณมีอำนาจช่วยผลักดันภาคอาหารแพลนต์เบสของเรา ลองทานอาหารวีแกนวันนี้และเข้าร่วมโครงการท้าลอง 22 วันของเรา คุณจะได้รับคำแนะนำด้านโภชนาการ สูตรอาหารแสนอร่อย และคำแนะนำจากนักโภชนาการมืออาชีพฟรี
Comments