top of page

การค้นพบ 7 ข้อที่พิสูจน์ว่าปลาฉลาดและมีความรู้สึก

เป็นเวลาหลายสิบปีที่ปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ไม่ถูกกล่าวถึงในการพูดคุยเรื่องสิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์ ผู้คนต่างมองปลาว่าเป็น “สัตว์เล็ก” คิดเองว่าพวกเขาไม่ได้มีความฉลาดหรือความรู้สึกมากพอ แม้ว่าตอนนี้ปลาจำนวนมากจะยังคงมีชีวิตที่ทุกข์ทรมานในฟาร์ม หรือเผชิญกับความตายอันเจ็บปวด โดนถลกหนังทั้งเป็น หรือปล่อยให้ขาดใจตายเพราะไม่ได้อยู่ในน้ำ แต่ก็นับเป็นเรื่องดีที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับปลา

การค้นพบทางวิทยาศาสตร์มีส่วนอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงมุมของของเราต่อปลา ผลการศึกษาฉบับหนึ่งระบุว่า “ปรากฏการณ์ที่นักวานรวิทยา (นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงสุด (primates) ได้แก่ลิงและคน) สนใจศึกษา เป็นปรากฎการณ์เดียวกับที่เกิดในปลารวมถึงความฉลาดทางสังคม วัฒนธรรม และการใช้เครื่องมือ” และเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่า ปลาสมควรที่จะได้รับความเห็นอกเห็นใจจากเราด้วยเหมือนกัน เราขอนำเสนอการค้นพบที่น่ามหัศจรรย์ใจนี้

1. ปลาจำหน้ามนุษย์ได้

แม้ว่า ซิเนอร์เจีย แอนนิมอลจะไม่แนะนำให้คนเลี้ยงปลาเป็นสัตว์เลี้ยง แต่มีการศึกษาหนึ่งที่ควรค่าแก่การกล่าวถึง นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด (สหราชอาณาจักร) และมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (ออสเตรเลีย) วิเคราะห์พันธ์ุปลาที่เรียกว่า ปลาเสือพ่นน้ำ หรือ Archerfish และพบว่า ในฐานะสัตว์เลี้ยง เขาจำหน้าคนที่คุ้นเคยได้จากจำนวนคน 12 คนที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และจำได้แม่นยำอีกด้วย ว่าแต่คุณล่ะ คุณเห็นความต่างในหหน้าตาของปลาสองตัวหรือไหม่ ดูเหมือนว่าปลาจะมีทักษะสูงกว่ามนุษย์ซะอีก หรือไม่จริง?

ความสามารถนี้ของปลาแสดงให้เห็นความฉลาดอันล้ำลึกของพวกเขา มนุษย์มีสองตา หนึ่งจมูก และหนึ่งปาก แต่ปลาก็ยังมองเห็นความแตกต่างอันเล็กน้อยนี้ระหว่างพวกเราได้ เช่นเดียวกับที่สุนัขและแมวทำได้

2. และสามารถสร้าง “เครื่องมือ” เพื่อใช้ล่าเหยื่อ

การศึกษาเกี่ยวกับความสามารถของปลาในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการรับรู้ของปลาถูกประเมินไว้ต่ำ

นี่คือความสามารถอีกด้านหนึ่งของปลาเสือพ่นน้ำ พวกเขารู้จักพ่นสายน้ำขึ้นมาจากใต้น้ำเพื่อจับแมลงมากิน พวกเขาสร้างเครื่องมือเพื่อล่าเหยื่อ ได้เช่นเดียวกันกับสัตว์ที่ฉลาด ๆ ไม่เชื่อก็ลองดูคลิปด้านล่างนี้

ประทับใจล่ะสิ? ไม่ได้มีปลาแค่ประเภทเดียวที่สามารถทำแบบนี้ เป็นที่รู้กันว่าปลานกแขกเต้ากะเทาะเปลือกหอยได้โดยการเอาไปโขกกับหิน พวกเขาจะหันข้างเพื่อเพิ่มแรงเหวี่ยงเวลาเอาหอยโขกกับหิน เนื่องจากว่าปลาหลายตัวทำพฤติกรรมนี้เหมือนดัน นักวิทยาศาสตร์จึงสงสัยว่านี่อาจจะเป็นทักษะที่สอนต่อกันมารุ่นสู่รุ่น จากพ่อแม่สู่ลูกปลา

3. ปลาก็เป็นพ่อแม่ที่ดี

หากพูดถึงการทำหน้าที่พ่อแม่ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ปลาปอมปาดัวร์ห่วงใยลูกแบบเดียวกับแม่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พ่อแม่ปลาปอมปาดัวร์จะให้อาหารลูกปลาด้วยเมือกบริเวณลำตัว (ฟังดูน่าขยะแขยง แต่ว่าลูกปลาชอบมากนะ!) ค่าสารอาหารรวมถึงสารสร้างภูมิคุ้มกันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของลูกปลา เหมือนกับนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

โจนาธาน บัคลี่ย์ จากมหาวิทยาลัย Plymouth สหราชอาณาจักร หนึ่งในผู้ที่ดูแลรับผิดชอบการศึกษานี้ จากมหาวิทยาลัย Plymouth จากสหราชอาณาจักรกล่าวว่า “การดูแลลูกของปลาปอมปาดัวร์และของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกมีความคล้ายกันหลายประการ”

ปลาพันธ์ุอื่นๆ เช่น ปลาหมอสีอเมริกาใต้และปลาดุก Hoplo จะวางไข่ในแปลือกหอยที่หาได้ในทะเล เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น จะได้พาลูกๆ หนีไปได้ทัน

4. ปลามีทักษะการเรียนรู้ที่น่าประทับใจ

ปลาสร้าง “เครื่องมือ” เพื่อล่าหรือกะเทาะเปลือกหอยได้ ไม่แปลกใจเลยที่นักวิจัยได้แสดงให้เราเห็นว่าปลามีความสามารถในการเรียนรู้ที่น่าพิศวงมาก ๆ และยังนำความสามารถนี้ไปใช้เพื่อทำพฤติกรรมซับซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย

เช่น ปลาหางนกยูง พวกเขาหาทางออกจากเขาวงกตที่มีสามแยกทั้งหมดหกจุดด้วยกันได้หลังจากผ่านการฝึกฝน ปลาหางนกยูงหาทางออกจากเขาวงกตได้โดยทั้งความผิดพลาดและเวลาลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ พิสูจน์ให้เห็นความสามารถในการเรียนรู้ของพวกเขา ในวันแรกของการฝึก ปลาหางนักยูงว่ายน้ำเข้าถูกเส้นทาง 68% และทำได้ถูกมากกว่า 80% ในวันสุดท้ายของการฝึก

ปลาบางตัวยังประเมินโอกาสในการชนะคู่ต่อสู้ได้ โดยการสังเกตและจดจำการต่อสู้ของปลาที่อาจจะได้ต่อสู้กัน

5. ...เป็นเพราะว่าปลามีความจำดี

เรามักเข้าใจว่าปลามีความจำแค่ 3 วินาที ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริงเลย นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าแม้แต่ปลาทองธรรมดาๆ ก็ยังจำเรื่องต่างๆ ได้เป็นเวลา 3 เดือน

การศึกษาโดย Culum Brown ผู้ช่วยบรรณาธิการของวารสาร Journal of Fish Biology จากมหาวิทยาลัย Macquarie ในออสเตรเลีย ระบุว่าปลาสายรุ้งพันธุ์ crimson spotted จำเส้นทางเพื่อหนีจากอันตรายได้เป็นระยะเวลา 11 เดือน

ปลาหลายสายพันธ์จำเส้นทางที่ซับซ้อนได้โดยการวาดภาพแผนที่ในหัว การศึกษาซึ่งตีพิมใน วารสาร The Royal Society Journal ระบุว่าปลาบางตัวมีแผนที่เชิงพื้นที่ของสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยจินตนาการภาพแทนของลำดับของสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ต่อกันและกัน

6. ปลามีความรู้สึก

แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะยังคงดำเนินการศึกษาพฤติกรรมของปลา ผลการวิจัยบางฉบับก็ชี้ให้เห็นแล้วว่าปลามีมีความรู้สึกนึกคิด และมีความรู้สึกต่อสภาพแวดล้อมและสถานการณ์รอบตัว

เช่น ปลาม้าลายมีอาการที่เรียกว่า “ไข้ทางอารมณ์” ซึ่งเป็นอาการมีไข้เนื่องมาจากสถานการณ์ตึงเครียด เหมือนกับไข้ที่เกิดจากการเจ็บป่วย เมื่อพวกเขามันถูกขังภายเป็นเวลาไม่นาน อุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มจาก 2 องศาเซลเซียส เป็น 4 องศาเซลเซียส รามักจะคิดกันว่าอาการแบบนี้จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก และสัตว์เลื้อยคลานเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วปลาก็มีอาการเช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งเป็นอาการที่เกี่ยวกันโดยตรงกับการมองโลกรอบตัวของพวกเขา

7. ปลามีความรู้สึกเจ็บปวด

“ฉันยืนยันว่ามีหลักฐานมากมายว่าปลารู้สึกเจ็บปวดและทรมานได้ เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีก มากกว่าทารกแรกเกิดของมนุษย์และทารกที่คลอดก่อนกำหนดด้วยซ้ำ” เป็นคำกล่าวที่ค่อนข้างหนักแน่นใช่ไหมล่ะ เข้าของคำกล่าวนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่คือวิคตอเรีย เบรธเวท ศาสตราจารย์ด้านการประมงและชีววิทยา ณ มหาวิทยาลัย Penn State ผู้เขียนหนังสือชื่อเรื่อง “Do Fish Feel Pain?” วิคตอเรียกล่าวว่ากายวิภาคศาสตร์ของปลาซับซ้อนมากพอที่จะรู้สึกถึงความเจ็บปวดและความไม่สบาย

แน่นอนว่าก็ยังคงไม่เหมือนกับความเจ็บปวดของมนุษย์ แต่ก็ยังเป็นความเจ็บปวดอยู่วันยังค่ำหมายความว่าที่พวกเขาดิ้นทุรนทุรายเวลาตะขอเกี่ยวปากหรือถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยม ไม่ใช่ว่าพวกเขาดิ้นเพราะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติ แต่ดิ้นเพราะรู้ตัวว่ากำลังถูกทำร้าย

กิจกรรมทางสมองของพวกเขาเทียบได้กับสัตว์บกที่มีกระดูกสันหลัง สมองของพวกเขาจะปล่อยกระแสไฟฟ้าเป็นชั้นๆ มายังสมองส่วนที่สำคัญต่อการรับรู้ความรู้สึกและมุมมอง (เช่นส่วน cerebellum, tectum และ telencephalon) ไม่ใช่แค่สมองส่วนท้ายหรือก้านสมองซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับปฏิกริยาและแรงกระตุ้น

ยังมีเรื่องให้เราต้องค้นพบอีกมากเกี่ยวกับความฉลาดและความรู้สึกของปลา แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นแล้ว ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเรามองปลาผิดมาตลอด แค่เพียงว่าพวกเขาหน้าตาไม่เหมือนเรา ไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบเดียวกับเรา หรือไม่ได้ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นแบบเดียวกับเรา ไม่ได้หมายความว่าพวกเราไม่ควรปกป้องพวกเขา

หากคุณอยากช่วยเราปกป้องสัตว์ รวมถึงปลาด้วย มาร่วมทีมอาสาสมัครกับเราสิ! คลิกที่นี่

bottom of page