รายงานใหม่เผย สวัสดิภาพสัตว์น้ำคือกุญแจสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Aquatic Life Institute ส่งรายงานฉบับใหม่เพื่อเรียกร้องให้คณะกรรมการด้านการประมงขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ แก้ไขแนวทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน
[15 กันยายน, 2564] -- Aquatic Life Institute (ALI) เผยแพร่รายงานใหม่ชื่อว่า สวัสดิภาพสัตว์น้ำเพื่อความยั่งยืน เพื่อเน้นย้ำความเชื่อมโยงระหว่างสวัสดิภาพสัตว์น้ำที่ดีขึ้นและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่สำคัญไปกว่านั้น ALI ยังได้เรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายและบุคคลที่เกี่ยวข้องเริ่มคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์น้ำเมื่อร่างนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน เริ่มตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป
รายงานระบุประเด็นสำคัญสิบประการที่กล่าวว่า เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนทั่วโลกต้องสอดคล้องกับสวัสดิภาพสัตว์น้ำ ปีนี้เป็นปีสำคัญเพราะมีการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาหารของโลก (UN Food Systems Summit) เป็นครั้งแรก อีกทั้งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN Food and Agriculture Organization) ยังได้พัฒนาแนวทางใหม่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน รายงานนี้เผยแพร่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมพอดี และเน้นย้ำว่าสวัสดิภาพสัตว์น้ำไม่ควรถูกละเลย ในความพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรอนุรักษ์มหาสมุทรและสวัสดิภาพสัตว์ในเครือข่ายของ ALI รายงานนี้จึงเปรียบเสมือนการรวมพลังของเหล่าองค์กรเพื่อเรียกร้องให้ทัวโลกหันมาใส่ใจสวัสดิภาพสัตว์น้ำให้มากกว่าเดิม
“ระบบอาหารปัจจุบันมุ่งเน้นผลผลิต และยังมีมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ต่ำ ผลก็คือสัตว์มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้เกิดโรคต่างๆ และต้องการยาปฏิชีวนะมากขึ้น วงจรสะท้อนกลับเช่นนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ และท้ายที่สุดก็ลดประสิทธิภาพของทรัพยากรและการผลิต ซึ่งตรงกันข้ามกับความยั่งยืน” คริสติน ชู หัวหน้าฝ่ายการวางแผนจาก ALI กล่าว
“เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยด่วน กล่าวคือ เราต้องเริ่มมองสัตว์น้ำว่ามีความสำคัญเทียบเท่ากับสัตว์บก และเราต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์น้ำด้วยหากต้องการบรรลุการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมง และระบบอาหารที่ยั่งยืน” คริสตินกล่าวเพิ่ม
ความต้องการของอาหารทะเลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ควบคู่กับการจับปลามากเกินไป สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และการผลิตที่ไม่ยั่งยืน จะเป็นภาระต่อระบบนิเวศที่เปราะบาง และเป็นอันตรายต่อผู้คนและสัตว์ที่พึ่งพาระบบนิเวศมากที่สุด
Aquatic Life Institute (ALI) ได้ส่งรายงานไปยังคณะกรรมการการประมงขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และเรียกร้องให้เกิดการพูดคุยและพิจารณาลำดับความสำคัญเหล่านี้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาทบทวนแนวทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืน ซึ่งอาจเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วโลกสำหรับอีกหลายสิบปีข้างหน้า
“เป้าหมายของเราคือแสดงให้เห็นว่าสวัสดิภาพสัตว์น้ำ เกี่ยวพันกับประเด็นด้านจริยธรรม สิ่งแวดล้อม และสังคมอย่างไม่อาจแยกจากกันได้ และควรจะเป็นส่วนสำคัญของนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป” วิลเลียม เบนช์ ผู้ก่อตั้ง ALI กล่าว
ข้อเสนอแนะเหล่านี้สร้างกรอบการทำงานที่มั่นคงสำหรับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ และช่วยให้สัตว์น้ำมีชีวิตที่ดีกว่าเดิม และในด้านการพัฒนาระดับโลกยังช่วยเสริมให้มีมาตรการที่ดัดแปลงให้เหมาะสมสำหรับสัตว์น้ำและการประมง ทั้งนี้เพื่อให้มีความยั่งยืนและมีมนุษยธรรมที่แท้จริง” วิลเลียมกล่าวปิดท้าย
ผู้ลงนาม:
Aquatic Life Institute
A Plastic Ocean Foundation
Advocating Wild
Alianima
Anima International
Animal Friends Jogja
Animal Rights Center Japan
Asociación para el rescate y bienestar de los animales (Arba)
Catholic Concern for Animals
Change For Animals Foundation
Coalition of African Animal Welfare Organizations
Compassion in World Farming
Conservative Animal Welfare Foundation
Crustacean Compassion
Equalia
Essere Animali
Fish Welfare Initiative
Fundación Vegetarianos Hoy
Green REV Institute
Humane Society International
Institute of Animal Law of Asia
Montreal SPCA
NY4Whales
One Voice
Ocean Conservation Namibia
Plataforma ALTO
Protección Animal Ecuador
SCORPION Foundation Indonesia
Sea Beyond Me
Sinergia Animal
Sharklife Conservation Group
The Humane League
Voters For Animal Rights
Voices for Animals
Comments