top of page

งานวิจัยเผยการรับประทานอาหารแบบวีแกนลดการใช้ยาในผู้สูงอายุ



งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน American Journal of Lifestyle Medicine พบว่า ในหมู่ประชากรผู้สูงอายุ ผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารแบบมังสวิรัติมีโอกาสสูงขึ้นเท่าตัวที่จะใช้ยาร่วมกันหลายขนานกว่าผู้ที่รับประทานอาหารแบบวีแกน Polypharmacy หรือ การใช้ยาฟุ่มเฟือยเป็นศัพท์ด้านสาธารณสุขที่หมายถึง การใช้ยาหลายชนิด (มากกว่า 5 ชนิดขึ้นไป) ในการรักษาคนๆ เดียว


งานวิจัยประเมินข้อมูลจากผู้เข้าร่วม 328 คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ถึงแม้ว่าอายุที่มากขึ้น ดัชนีมวลกายที่ต่างกัน (BMI) และโรคปัจจุบัน มีความสัมพันธ์กับจำนวนยาที่เพิ่มมากขึ้น การรับประทานอาหารแบบวีแกนเป็นปัจจัยเดียวที่เกี่ยวข้องกับปริมาณยาที่ต่ำสุดในกลุ่มผู้ทดลอง ผลลัพธ์เผยว่า การรับประทานอาหารแบบวีแกนลดการใช้ยาได้ถึงร้อยละ 58 เมื่อเทียบกับการรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์


การใช้ยาร่วมกันหลายขนานก็มีความเสี่ยง จากการศึกษาพบว่า “บุคคลที่ใช้ยามากกว่าห้าชนิดขึ้นไปต่อวันมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาถึง 88 เปอร์เซ็นต์ ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่พึงประสงค์จากยาจะอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น ตามที่สังเกตุได้จากงานวิจัย ONEHOME ในบรรดาผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้าน ตัวเลขนี้อาจสูงขึ้นอีกมากถึงร้อยละ 51.5 ของผู้ป่วยที่บ้านอยู่ในกลุ่มใช้ยามากเกินจำเป็น (polypharmacy)


ถึงแม้ว่างานวิจัยใหม่นี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการสาธารณสุข แต่ผลการศึกษาก็ไม่ควรถูกมองว่าเป็นเรื่องประหลาดแต่อย่างใด งานวิจัยอื่นๆ ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมวัวกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการเกิดโรคร้ายแรงและมะเร็งหลายชนิด ซึ่งมักนำไปสู่การรักษาด้วยยาหลายขนาน


อย่ารอที่จะตัดสินใจทำสิ่งที่ถูกต้องสำหรับสุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก ลงทะเบียนวันนี้เพื่อเข้าร่วมโครงการท้าลอง 22 วัน และรับสูตรอาหารวีแกน เคล็ดลับ และคำแนะนำด้านโภชนาการจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงสู่ไลฟ์สไตล์แบบวีแกนที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าเดิม และส่งเสริมให้คนที่คุณรักทำเช่นเดียวกัน!






Comments


bottom of page