top of page

7 โรคระบาดที่เกิดจากการบริโภคสัตว์


ผู้คนทั่วโลกตื่นตระหนกกับการระบาดของไวรัสโควิด19 ภายในเวลาไม่กี่เดือนก็มีผู้เสียชีวิตรวมแล้วกว่า 50,000 ราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและอิตาลี และก็ไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาเบาบางลงเลย

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมไวรัสนี้จึงกลายเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในรอบทศวรรษ คาดการณ์ว่าไวรัสอาจจะติดต่อมาสู่คนเป็นครั้งแรกในตลาดค้าสัตว์ในอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งเป็นที่ที่คนนิยมซื้อสัตว์หลากหลายชนิดมาบริโภค แต่คุณรู้หรือไม่ว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่การใช้ประโยชน์จากสัตว์และการบริโภคเนื้อสัตว์ทำให้เกิดโรคระบาดเช่นนี้ มาดูกันดีกว่าว่ามีโรคอะไรบ้าง

COVID-19

ไวรัสที่เป็นข่าวใหญ่ จนต้องประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วโลก สาเหตุสำคัญมาจากสัตว์ป่าซึ่งวางขายอยู่ในตลาด ตลาดแบบนี้เป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ก็มีผู้เสียชีวิตรวม แล้วกว่า 50,000 ราย ผู้ติดเชื้อกว่า 1,000,000 คน

HIV/AIDS

ทฤษฎีเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีที่ยอมรับกันกว้างขวางที่สุดระบุว่า มนุษย์กลุ่มแรกที่ได้รับเชื้อคือนักล่าสัตว์ ระหว่างที่กำลังชำแหละซากชิมแปนซี พวกเขาสัมผัสกับเลือดและของเหลวจากร่างกายของชิมแปนซีโดยตรง และติดเชื้อผ่านทางแผลบนผิวหนัง อีกหลายสิบปีต่อมา ในปี 2018 มีผู้คนติดเชื้อ HIV ทั่วโลกกว่า 37.9 ล้านคน HIV เป็นไวรัสที่นำไปสู่โรคเอดส์หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม (acquired immunodeficiency syndrome- AIDS) ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้โอกาสติดเชื้อและเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้น

Salmonella โรคที่เกิดจากอาหารกว่าหนึ่งในสามในสหภาพยุโรปในปี 2018 เกิดจาก Salmonella แบคทีเรียที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต โรคนี้ติดต่อสู่มนุษย์จากการบริโภคอาหารที่มาจากสัตว์ซึ่งปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่เนื้อสัตว์ นม และไข่ไก่

Escherichia coli

หรืออี โคไล เป็นแบคทีเรียไม่เป็นอันตรายอาศัยในลำไส้ของเรา แต่บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดอาการเป็นพิษอย่างรุนแรงได้ อี โคไลจากลำไส้ของวัวและควาย อาจทำให้เกิดท้องร่วงอย่างรุนแรง และทำให้การทำงานของไตล้มเหลว แบคทีเรียชนิดนี้ติดต่อมาสู่คนจากการบริโภคเนื้อดิบ หรือปรุงสุกไม่เต็มที่ และน้ำนมจากวัว โรงเชือดสัตว์ที่มีการควบคุมสุขอนามัยอย่างดีอาจจะช่วยลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนแบคทีเรียจากอุจจาระวัวได้ แต่ก็ไม่การันตีว่าจะไม่มีอี โคไลปนเปื้อนอยู่เลย

Swine flu

ไข้หวัดหมู H1N1, H1N2, H2N1, H3N1, H3N2, และ H2N3 ทั้งหมดนี้เป็นไวรัสที่พบในหมูที่เลี้ยงเพื่อการบริโภคของมนุษย์ การระบาดของโรคในปี 2009 เริ่มเมื่อเดือนเมษายนในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก และในปีเดียวกันนี้เอง กว่า 214 ประเทศทั่วโลกก็เกิดการแพร่ของเชื้อไวรัสไข้หวัด H1N1 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 18,449 ราย ตัวเลขดังกล่าวนี้เป็นจำนวนผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันจากการตรวจสอบในห้องแล็บเท่านั้น งานวิจัยหลายฉบับระบุว่าผู้เสียชีวิตจากไวรัสดังกล่าวนี้จริงๆ แล้วอาจสูงกว่านี้ถึง 15 เท่า

Bird Flu (avian flu)

ไข้หวัดนก เช่นเดียวกันกับไข้หวัดหมู ไวรัสสายพันธุ์นี้กลายพันธุ์มาติดสัตว์ปีก ระหว่างปี 1996 ถึง 2008 การระบาดของไวรัส HPAI หรือที่รู้จักกันว่าไข้หวัดนก เกิดขึ้นอย่างน้อย 11 ครั้ง งานวิจัยหลายฉบับระบุว่าการเริ่มระบาดของไวรัสนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และเกิดบ่อยขึ้นเนื่องจากความอุปสงค์เนื้อสัตว์ปีกที่สูงขึ้น เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ในยุค 90 อุตสาหกรรมสัตว์ปีกเพิ่มสูงขึ้น 76 % ในประเทศกำลังพัฒนา

Mad cow disease

เป็นเชื้อไวรัสที่เปลี่ยนให้สมองของวัวมีลักษณะเหมือนฟองน้ำ และทำลายระบบประสาทอย่างรุนแรง เชื้อวัวบ้าเกิดจากโปรตีนที่มีลักษณะผิดปกติ เรียกว่า prion วัวจะติดเชื้อนี้ได้ก็เช่นตอนที่กินซากของวัวตัวอื่นที่มีเชื้อนี้อยู่แล้ว ซึ่งมักเป็นซากของวัวส่วนที่มนุษย์ไม่บริโภค และนำมาเป็นอาหารให้วัวในอุตสาหกรรม มนุษย์ที่บริโภคเนื้อที่มีการปนเปื้อนจะมีโรค Creutzfeldt-Jakob disease ซึ่งจะทำลายเซลสมองและทำให้เสียชีวิตภายในเวลาหนึ่งปี ในปี 2019 มีคนติดเชื้อกว่า 232 คนและทุกคนเสียชีวิตหมด

โรคเหล่านี้อาจเกิดได้หลายสาเหตุ อาจจะเป็นเพราะการอุตสาหกรรมปศุสัตว์ซึ่งขังสัตว์ไว้ในที่แออัด และมีจำนวนสัตว์มาก อยู่กันอย่างหนาแน่น สภาพสุขอนามัยย่ำแย่ การใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ หรือาจจะเกิดจากอาการดื้อยาปฎิชีวนะในมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ซึ่งปนเปื้อนยาต้านปฏิชีวนะในระดับสูง หรือาจะเกิดเพราะการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้พื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าลดลง ทำให้คนมีโอกาสสัมผัสกับสัตว์ป่ามากขึ้น

แต่สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดคือ ถ้าหากเรายังไม่เลิกใช้ประโยชน์จากสัตว์ และเลิกบริโภคสัตว์ ก็จะเป็นไปได้ว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ อีกบ่อยครั้ง หากคุณอยากช่วยให้โลกนี้เป็นที่ที่ปลอดภัยขึ้นสำหรับทุกฝ่าย คุณก็ทำได้โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค คลิกที่นี่เพื่อเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคุณตั้งแต่วันนี้!

bottom of page