top of page

ผลวิจัยเผย ผู้บริโภคชาวไทยกังวลกับผลกระทบทางสังคม อันเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของตนเองมากที่สุด


เทรนด์รักสุขภาพ และข้อเรียกร้องให้ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใส่ใจต่อสวัสดิภาพสัตว์ให้มากยิ่งขึ้นกำลังเป็น กระแสที่ถูกจับตามองในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

งานวิจัยระดับโลกชิ้นใหม่ที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยเดอะควอลทริคส์ เอ็กส์เอ็ม อินสติทิว (the Qualtrics XM Institute) ได้วิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงการระบาดของโควิด - 19 และได้ข้อสรุปว่าวิถีทางในการจับจ่ายใช้สอย วิธีการคัดสรรสิ่งที่จะเลือกซื้อ และประสบการณ์ที่ผู้คนคาดหวังจากผู้ผลิตสินค้าได้ เปลี่ยนไปแล้วโดยถาวร โดยในกลุ่มประเทศที่ถูกสำรวจทั้งหมดพบว่าผู้บริโภคจากประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นผู้บริโภค ที่สนใจต่อ “ผลกระทบทางสังคม” มากที่สุด โดย 25% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาเลือกที่จะซื้อ ผลิตภัณฑ์จาก “บริษัทที่มีนโยบายตอบแทนคืนกลับสังคมเป็นลำดับแรก

นอกเหนือจากข้อเรียกร้องที่ให้บรรดาบริษัทต่างๆ ดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่เพิ่มขึ้น แล้ว งานวิจัยสองชิ้นยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มพฤติกรรมใหม่ในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยที่กำลังมาแรงอีกประการ หนึ่ง ซึ่งก็คือการใช้ชีวิตวิถีใหม่ที่ใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้น กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) ประเมินผล กระทบของการระบาดใหญ่ของโควิด - 19 ในภาคอุตสาหกรรมอาหารไทยและเน้นย้ำว่าวิกฤตดังกล่าวได้ทำให้ ผู้บริโภคชาวไทยหันมาตอบรับเทรนด์แนวโน้มการใช้ชีวิตแบบใส่ใจสุขภาพ

“ผู้บริโภคออกมาเรียกร้องให้บริษัทต่าง ๆ แสดงความชัดเจนและเปิดเผยถึงวิธีการผลิตสินค้าของตนเองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะผู้คนตระหนักดีว่าอาหารมีบทบาทสำคัญและส่งผลต่อสุขภาพของเขาอย่างไรบ้าง" คุณพิชามญชุ์ ธมะสุข ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารของ ซิเนอร์เจีย แอนิมอล (Sinergia Animal) อธิบาย “ไม่เพียงแค่นั้นผู้คนกำลังสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พวกเขาบริโภคและผลกระทบที่เกิดต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของส่วนรวม ดังนั้นแนวโน้มที่ผู้บริโภคจำนวนมากจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยดูจากข้อมูลที่เปิดเผยจะเพิ่มมากขึ้น บริษัทต่างๆ ก็สังเกตเห็นถึงข้อเรียกร้องนี้และตอบรับได้อย่างรวดเร็ว” คุณพิชามญชุ์กล่าว


องค์กรพัฒนาเอกชนยกตัวอย่างของ ไมเนอร์ ฟู้ด ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ให้บริการด้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และดำเนินธุรกิจใน 27 ประเทศโดยมีเชนร้านอาหารมากกว่า 2,300 แห่งทั่วโลก ไมเนอร์ ฟู้ดเป็นเจ้าของและผู้บริหารแบรนด์ดังระดับอินเตอร์มากมาย อาทิ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ซิซซ์เล่อร์ สเวนเซ่นส์ เเดรี่ควีน และเดอะ คอฟฟี่ คลับ เป็นต้น บริษัทได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะเลือกซื้อไข่ไก่จากฟาร์มเลี้ยงไก่ปลอดกรงเป็นวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารในทั่วทุกสาขาของบริษัทภายในปี 2570 “เราได้เคยร่วมวงสนทนาและถกปัญหากับไมเนอร์ฟู้ดและเราชื่นชมการตัดสินใจครั้งนี้ของผู้บริหารเป็นอย่างมาก นับเป็นก้าวสำคัญครั้งใหญ่จากบริษัทระดับอินเตอร์ฯ ที่มุ่งเดินหน้าสู่การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจต่อความอย่างยั่งยืนและสวัสดิภาพสัตว์ เราหวังว่าการประกาศเจตนารมย์ครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับบริษัทอื่นๆ ที่จะปฏิบัติตามแนวทางเดียวกัน”




ซิเนอร์เจีย แอนิมอลได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากฝ่ายธุรกิจค้าปลีก เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ซึ่งเป็นเชนซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีสาขามากถึง 244 แห่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทมีนโยบายที่จะเพิ่มสัดส่วนการวางขายไข่ไก่ที่มาจากฟาร์มเลี้ยงไก่ปลอดกรงขึ้นเป็น 50% ในทุกสาขาทั่วประเทศ โดยเชนธุรกิจดำเนินงานภายใต้ 6 แบรนด์ ได้แก่ เซ็นทรัลฟู้ดฮอลล์ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ท็อปส์ ซูเปอร์สโตร์ ซูเปอร์คุ้ม ท็อปส์ เดลี่ และอีทไทย และย้อนไปในปี 2562 เทสโก้ โลตัส คือห้างค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภครายแรกในประเทศไทยที่ประกาศแผนการทยอยเปลี่ยนไปสู่การวางขายไข่ไก่ปลอดกรง 100% ให้ได้ภายในปี 2571 นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางด้านความปลอดภัยทางอาหาร

นอกจากนี้ ผลศึกษาวิจัยสำคัญหลายชิ้นในสหภาพยุโรป เผยให้เห็นว่าในฟาร์มเลี้ยงแบบกรงตับนั้นมีความเสี่ยงของ การปนเปื้อนเชื้อซาลโมเนลล่า (Salmonella) สูงกว่าฟาร์มปลอดกรงอย่างมีนัยสำคัญ ตามรายงานของ องค์การอนามัยโลก มีเชื้อซาลโมเนลล่าที่แพร่กระจายมากที่สุดชนิดหนึ่งที่ "คาดว่าก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเฉียบพลันในคนกว่า 93.8 ล้านราย และทำให้ผู้คนเสียชีวิตถึง 155,000 รายทั่วโลกในแต่ละปี ซึ่งราว 85% คาดว่าจะได้รับเชื้อผ่านทางการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน”

การเปลี่ยนไปบริโภคไข่จากแม่ไก่ที่ไม่เลี้ยงในกรงตับก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการจัดการกับข้อกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพ ของสัตว์ เนื่องจากกรงตับถือเป็นระบบหนึ่งที่โหดร้ายทารุณที่สุดต่อสัตว์ ภาพจากฟาร์มของไทย แสดงให้เห็นว่า ในระบบนี้แม่ไก่ใช้เวลาแทบทั้งชีวิตในพื้นที่ขนาดเล็กกว่ากระดาษขนาด A4 ทำให้พวกมันไม่สามารถเดินเหินได้อย่างอิสระ หรือกางปีกออกได้ไม่สุด และเนื่องจากกรงแน่นเกินไปทำให้ “ลำตัว” ของแม่ไก่ต้องครูดกับกรงที่เป็นลวดโลหะอยู่ตลอดเวลา ทำให้ขนของพวกมันหลุดร่วง นอกจากนี้การไม่ค่อยได้ขยับร่างกายทำให้พวกมันเจ็บปวด จากอาการกระดูกร้าวและโรคกระดูกพรุนต่าง ๆ


“ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่แบบปลอดกรงสามารถลดความทุกข์ทรมานของแม่ไก่ได้อย่างมาก เพราะสัตว์จะถูกปล่อยให้ได้ แสดงออกตามพฤติกรรมทางธรรมชาติ เช่น การได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ การวางไข่ในรัง จิกคุ้ยเขี่ยดิน และเกาะคอน” คุณพิชามญชุ์อธิบายเพิ่มเติม

แนวทางปฏิบัติในการจัดหาไข่ไก่จากฟาร์มเลี้ยงแบบไม่ใช้กรงถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหารใน

ประเทศไทย แต่เป็นแนวโน้มที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก ปัจจุบันมีบริษัทมากกว่า 1,000 แห่งทั่วโลก ได้ ประกาศนโยบายที่จะเลือกใช้เฉพาะไข่ไก่จากฟาร์มเลี้ยงแบบไม่ใช้กรงในระบบซัพพลายเชนของพวกเขาเท่านั้น ตัวอย่างเช่นบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง อาทิ โซเด็กซ์โซ่ คอมพาส กรุ๊ป เนสท์เล่ และ ยูนิลิเวอร์ ต่างก็แสดงเจตนารมย์ที่จะระงับการสั่งซื้อไข่ไก่จากฟาร์มเลี้ยงที่ใช้กรงตับทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย

“เราเห็นแนวโน้มที่ดีจากภาคการค้าปลีกในประเทศไทยด้านการรักษาสวัสดิภาพสัตว์และความปลอดภัยทางอาหาร การประกาศเจตนารมย์ของเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล นำไปสู่การลดความทุกข์ทรมานของสัตว์นับล้านตัวในประเทศไทย และเราหวังว่าบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายจะดำเนินตามแนวทางนี้เช่นกัน” คุณพิชามญชุ์กล่าวอย่างยินดี

นอกจากนี้องค์กรยังแนะนำให้ผู้ที่สนใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินโดยเน้นอาหารที่ยั่งยืน ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสัตว์ร่วมโลก ให้มาสมัครเข้าร่วมโครงการทดลองอาหารวีแกน thaichallenge22.org “ผู้เข้าร่วมจะได้รับเคล็ดลับการทานอาหารประจำวัน สูตรอาหาร และคำแนะนำจากนักโภชนาการในการเริ่มต้น ทานอาหารไร้เนื้อสัตว์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกจากนั้นยังเป็นโอกาสดีที่จะได้พบปะและทำความรู้จักกับผู้คนที่มีเป้าหมายเดียวกันเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนอีกด้วย” คุณพิชามญชุ์ได้อธิบายทิ้งท้าย



bottom of page