17% ของเนื้อวัวที่ส่งออกจากบราซิล ไปยังกลุ่มประเทศยุโรป มาจากการทำลายป่าอย่างผิดกฎหมาย
งานวิจัยฉบับหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Science ระบุว่า 20% ของถั่วเหลือง และอย่างน้อย 17% ของเนื้อวัวที่ส่งออกจากป่าแอมะซอนและทุ่งหญ้าเซอร์ราโด้ในบราซิล ไปยังสหภาพยุโรปมากจากการบุกรุกพื้นที่ป่าอย่างผิดกฎหมาย ทุ่งหญ้าเซอร์ราโด้เป็นทุ่งหญ้าที่มีความหลากหลายทางชีวิตภาพสูงที่สุด ดูดซับคาร์บอนมหาศาล และเก่าแก่ที่สุดในโลก ข้อสรุปดังกล่าวยืนยันข้อมูลที่เคยมีมาก่อนว่าการเลี้ยงวัวและการปลูกถั่วเหลืองเป็นตัวการของการทำลายป่าฝนเขตร้อน
ผลการศึกษาดังกล่าวได้จากการประเมินที่ดิน 815,000 แห่งในเขตชนบทและเปรียบเทียบแผนที่แสดงการใช้ที่ดินและการทำลายป่า นักวิจัยยังได้ข้อมูลจากองค์กรซึ่งทำ
งานด้านความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทาน ชื่อ Transparency for Sustainable Economies (TRASE) และเอกสารให้อนุญาตการขนส่งปศุสัตว์ (cattle transport permits) ซึ่งออกให้เมื่อมีการซื้อขายสัตว์ระหว่างฟาร์มและโรงเชือด
นอกจากนี้ห่วงโซ่อุปทานของเจบีเอส ผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดในโลกก็พบว่ามีการปล่อยวัวให้เข้าไปกินหญ้าอย่างผิดกฎหมายในแอมะซอน ข้อมูลนี้ได้จากรายงายโดยองค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นี่อาจหมายความว่า นอกจากจะส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว "เจบีเอส อาจจะมีส่วนในการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนพื้นเมืองอีกด้วย" เจบีเอสได้รับทราบสถานการณนี้แล้วตั้งแต่ปี 2009 แต่ก็ยังไม่เร่งหาวิธีการแก้ไข และยังกล่าวอ้างว่าเนื้อของบริษัทตนนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกพื้นที่ป่า
สำนักข่าวรอยเตอรส์รายงานว่าประเทศไทยตอบตกลงในการนำเข้าเนื้อวัวจากบราซิล และเมื่อปีที่แล้วไทยนำเข้าเนื้อวัวเป็นมูลค่า 90 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
ถั่วเหลือง เนื้อวัว และกากรุกล้ำป่าในลุ่มน้ำแอมะซอน
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าการปลูกถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในตัวการเร่งการตัดไม้ทำลายป่า แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าถั่วเหลืองส่วนใหญ่นั้นถูกนำไปเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ไม่ได้นำมาให้คนบริโภค คนกินเนื้อสัตว์หนึ่งคนนั้น บริโภคถั่วเหลืองมากกว่าวีแกนหนึ่งคนที่กินเต้าหู้ เช่น มีการประมาณว่าชาวยุโรปบริโภคถั่วเหลือง 61 กิโลกรัมต่อปี โดยมากเป็นการบริโภคทางอ้อมผ่านเนื้อสัตว์ ได้แก่ ไก่ หมู แซลมอน หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่นๆ เช่น ชีส นม และไข่
บราซิลเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อวัวอันดับหนึ่งของโลก และยังเป็น ผู้ผลิตถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดของโลก (ซึ่งส่วนมากนำไปเป็นอาหารให้สัตว์ในอุตสาหกรรมเนื้อและนม) และในปี 2019 เพียงปีเดียว ยังเผชิญกับการตัดไม้ทำลายป่าในอัตราที่รุนแรงที่สุด คือ 1,361,000 เฮคเตอร์ ขณะนี้ถูกนานาชาติกดดันให้หาทางแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในขณะที่รัฐบาลบราซิลบอกว่าไม่สามารถสืบย้อนห่วงโซ่อุปทานได้ บทความฉบับหนึ่งในวารสาร Science หัวข้อ “แอปเปิ้ลเน่าแห่งอุตสาหกรรมการเกษตรบราซิล” ระบุว่ารัฐบาลบราซิลมีความสามรถดังกล่าว และควรจะทำเช่นนั้น
ฮาโอนิ ฮาเจา, ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Universidade Federal de Minas Gerais (UFMG)กล่าวว่า “เราใช้แผนที่และข้อมูลซึ่งเข้าถึงได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตามเกษตรกรและคนเลี้ยงสัตว์ทำการถางพื้นที่ป่าเพื่อปลูกถั่วเหลืองและผลิตเนื้อสัตว์ ซึ่งสุดท้ายแล้งจะไปจบที่ยุโรป ตอนนี้ บราซิลก็มีข้อมูลมากเพียงพอแล้วที่จะลงมือจัดการกับผู้ทำผิดกฎหมายเหล่านี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมการส่งออกไม่ข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า ไม่ใช่เวลามาอ้างว่าไม่สามารถทำอะไรได้"
ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน: อีกด้านของเหรียญ
การเติบโตของอุตสาหกรรมเลี้ยงวัวเติบโตขึ้นมากพื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอนในบราซิล องค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวว่า “ตั้งแต่ปี 1988 จำนวนวัวในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่า เป็น 86 ล้านตัวในปี 2018 และคิดเป็น 40% ของจำนวนวัวทั้งหมดในประเทศ” แต่การตัดไม้ทำลายป่าไม่ได้เป็นปัญหาต่อแค่สัตว์ ทรัพยากรธรรมชาติและป่าเท่านั้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเตือนว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน การใช้ความรุนแรงต่อชนพื้นเมืองและผู้อยู่อาศัยแต่ดั้งเดิมในพื้นที่อนุรักษ์ทำให้มีผู้อยู่อาศัยเหลืออยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ Rio Jacy-Paraná Reserve เพียงแค่สามคน จากประมาณ 60 ครอบครัวซึ่งเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ นอกจากนี้ ชนพื้นเมืองยังได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล แต่อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์กลับฝ่าฝืนกฎหมายนี้และรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่
การลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นก้าวสำคัญในการช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม ชุมชนคนพื้นถิ่น และยังช่วยปกป้องโลกเราจากโรคระบาดครั้งถัดไปด้วย คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้ว่าคุณจะเปลี่ยนแปลงการบริโภคได้อย่างไร
Comments