การตัดไม้ทำลายป่าและโรคระบาดระลอกต่อไป
เป็นที่รู้กันว่าเชื้อโรคที่เกิดใหม่ และมนุษย์ยังไม่มีภูมิคุ้นกันต้านเชื้อโรคนั้น จะก่อให้เกิดโรคระบาดทั่วโลก ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ของเราเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคระบาดผ่านการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างไร
หากคุณเคยเห็นฉากในหนังคาวบอย ให้นึกถึงภาพคาวบอยกำลังขี่ม้าท่ามกลางฝูงวัว และไล่ฝูงวัวข้ามทุ่งหญ้ากว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา มีทิวทัศน์ยอดเขาที่ปกคุลมด้วยหิมะเป็นฉากหลังไกลๆ ภาพแบบนี้จะไม่มีอีกแล้ว ทั่วทั้งโลกใบนี้มีทุ่งหญ้าลักษณะที่ว่าเหลืออยู่ไม่กี่ที่ ฉะนั้นหากใครต้องการจะเลี้ยงวัวหรือสัตว์ขนาดใหญ่ ต้องปรับที่ดิน ที่อยู่เอาเอง ในขณะที่หนึ่งในสามของพื้นที่ทั่วโลกเป็นผืนป่า และผืนป่านั้นเองเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างทุ่งหญ้าเพื่อใช้เลี้ยงปศุสัตว์ เราต่างก็รู้ว่าการตัดไม้ทำลายป่าก่อให้เกิดความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมหลายด้าน สิ่งที่ดำมืดยิ่งกว่านั้นคือ ในกระบวนหักร้างถางพง คนและสัตว์เลี้ยงจะมีโอกาสเจอกับแมลงและสัตว์ป่าที่เป็นพาหะของโรคที่เราไม่รู้จัก เช่นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) เชื้อโรคต้นเหตุของภาวะโรคระบาดในปัจจุบัน
โควิด-19 คือโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ตลาดหัวหนาน เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน มีความเป็นไปได้ว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) จะข้ามจากสัตว์ไปสู่คนที่ตลาด และแม้ว่าเราไม่อาจแน่ใจได้ 100% ว่าสัตว์สายพันธุ์ไหนหรือสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ หลักฐานชี้ไปที่ค้างคาวและตัวนิ่ม ตัวนิ่มเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ถูกคุกคามและล่ามากที่สุดในโลก เนื่องจากมีความเชื่อเรื่องประโยชน์ทางยาจากเนื้อและเกล็ดของตัวนิ่ม (ไม่ได้รับการพิสูจน์) การระบาดของโรค SARS เริ่มมาจากเส้นทางที่คล้ายคลึงกัน โดยเริ่มจากค้างคาวมงกุฏจีน ชะมด และจึงแพร่มาสู่คน
เราเรียกโรคที่แพร่จากสัตว์มาสู่คนว่า zoonosis หรือ โรคติดเชื้อจากสัตว์มาสู่คน. กรณีที่เกิดโรคชนิดใหม่ และคนยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนี้มาก่อน โรคชนิดใหม่นี้จะเป็นภัยคุกคามสุขภาพขั้นรุนแรง ตลาดสดนับเป็นสถานที่เอื้ออำนวนให้ไวรัสโรคติดเชื้อจากสัตว์กระโดดข้ามสายพันธุ์ได้ เพราะในตลาดมีสัตว์เป็นๆ จากฟาร์ม รวมถึงสัตว์ป่าด้วย เพื่อให้พาหะติดเชื้อ ไวรัสต้องเข้าจู่โจมพาหะทางร่างกายและเข้าถึงกลไกระดับเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนไวรัส อ้างอิงจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกา กว่า 60% ของโรคติดต่อ โรคพิษสุนัขบ้า โรคข้ออักเสบ Lyme และโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ล้วนแต่เป็นโรคที่มาจากสัตว์ เป็นไปได้ว่าสามในสี่ของเชื้อโรคติดต่อเกิดขึ้นใหม่เป็นโรคติดเชื้อจากสัตว์มาสู่คน
ยุงเป็นตัวการแพร่โรคที่เรารู้กันดี การตัดต้นไม้สูงในป่าเป็นการเปิดผืนป่าให้ได้รับแสงอาทิตย์และรบกวนแม่น้ำลำธาร รวมถึงเป็นการส่งเสริมการเติบโตของลูกน้ำจากแหล่งน้ำที่เป็นหลุมเป็นบ่อ นักวิจัยได้ทำการทดลองรูปแบบการทดลองต่างๆ และใช้เทคโนโลยีกล้องวงจรปิดเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการหักร้างถางพงว่าสัมพันธ์กับการเกิดโรคมาลาเรียหรือไม่ อย่างไร การศึกษาหนึ่งในบอร์เนียวค้นพบว่ามีการติดไข้มาลาเรียเกิดขึ้นหลังจากป่าถูกแผ้วถางเพื่อเตรียมปลูกปาล์ม และคนงานเตรียมเริ่มงานในพื้นที่ที่เพิ่งถางป่าและมียุงชุม เคสการติดไข้มาลาเรียเพิ่มสูงขึ้นในแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้บริเวณที่ป่าฝนถูกแผ้วถางเพื่อใช้เป็นพื้นที่กสิกรรม และเมื่อผืนป่าถูกรุกล้ำเพิ่มขึ้นทุกปี ๆ เราจะพบการติดโรคไข้ฉี่หนูและโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น
ค้างคาวก็เป็นสาเหตุ นักวิจัยต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะค้นพบว่าค้างคาวมีความเกี่ยวข้องกับการระบาดของไวรัสโรค SARS ช่วงระหว่างปี 2000-2003 และอาจจะเกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคอีโบลา แต่ยังมีเชื้อไวรัสสมองอักเสบนิปาห์ที่น่ากลัวไม่แพ้กัน คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าโรคชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว เชื้อไวรัสสมองอักเสบนิปาห์เกิดขึ้นครั้งแรกระหว่างช่วงปี 1990 - 1999 ในประเทศมาเลเซีย บริเวณที่ป่าฝนถูกแผ้วถางเพื่อทำฟาร์มหมูได้กลายเป็นจุดกำเนิดโรคระบาด ทั้งหมูและค้างคาวกินมะม่วงจากสวนในบริเวณใกล้เคียง ทำให้การแพร่เชื้อไวรัสสมองอักเสบนิปาห์มาสู่หมู และในเวลาต่อมาก็แพร่มาสู่คน เหตุการณ์ครั้งนี้อธิบายได้ดีว่าโรคติดเชื้อจากสัตว์มาสู่คนเกิดจากกิจกรรมที่คนและสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นอาหารเข้าใกล้สัตว์ป่า
เราเจอตัวอย่างอีกกรณีจากโรคไข้เลือดออก เชื้อโรคนี้เป็นเหตุของโรคระบาดมาก่อน เป็นไปได้ว่าเป็นผลจากการหักร้างถางพงป่าเขตร้อนในทวีปเอเชียสมัยที่เริ่มมีการเลี้ยงสัตว์เป็นครั้้งแรกๆ เมื่อเปลี่ยนการใช้งานที่ดินทำให้คนใกล้ชิดสัตว์ป่ามากขึ้น การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ที่อยู่อาศัยกระจัดกระจาย ผืนป่าถูกรุกล้ำกลายเป็นที่เลี้ยงสัตว์และที่อยู่อาศัยของคน อิทธิพลของแนวขอบป่า “edge effect” ส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อโรค สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะของโรค บริเวณที่แพ้วถางแล้วอาจกลายเป็นที่อยู่ของสัตว์ประเภทหมู แพะ หนู หมาและแมว และอาจกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อและแหล่งแมลงแพร่เชื้อ การเลี้ยงสัตว์เป็นอาหารในแหล่งที่อยู่อาศัยที่กระจัดกระจาย มีโอกาสสัมผัสสัตว์ป่าและยังถูกส่งให้ไปอยู่ในตลาดเดียวกัน สถานการณ์เช่นนี้เอื้ออำนวยให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์กับไวรัสโรคติดเชื้อจากสัตว์
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า 26% ของพื้นที่ทั้งโลกถูกใช้เป็นทุ่งหญ้าที่ใช้เลี้ยงสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเป็นอาหาร หนึ่งในสามของพื้นที่กสิกรรมทั่วโลกใช้ปลูกพืชเพื่อเลี้ยงสัตว์ ทุกๆ ปี เราสูญเสียผืนเพิ่มขึ้น 2-3 % ส่วนใหญ่แล้วเป็นป่าในประเทศเขตร้อน การทำลายป่าส่วนใหญ่เริ่มจากการสร้างถนน ถนนสายใหม่เป็นตัวการให้เกิดการตัดไม้ซุง การลุกร้ำป่าด้านใน จากนั้นชาวไร่ชาวสวนจะเข้ามาใช้ถนนเส้นใหม่นี้เพื่อเข้าถึงที่ดินผืนใหม่ที่พวกเขาเตรียมแผ้วถางและปลูกพืช ดินที่ไม่มีแร่ธาตุใช้ปลูกพืชได้ไม่กี่ปี จากนั้นชาวไร่ชาวสวนก็ไปหาที่ดินใหม่ ทำอย่างนี้อีก 2-3 ปี จนที่ไม่มีที่เหลือ ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ที่ต้นไม้ถูกตัดมีขนาดเท่าประเทศอินเดียทั้งประเทศ เนื่องจากความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ แม้แต่ดินคุณภาพต่ำ ๆ ไม่สามารถปลูกอะไรได้ ก็ยังเลี้ยงวัวได้ และสร้างผลกำไร
แท้จริงแล้ว ในอเมริกาใต้ นักวิจัยได้ประมาณว่า 71% ของการหักร้างถางพงป่าฝนนั้น ทำเพื่อเปิดพื้นที่ใช้เลี้ยงวัว ในขณะที่ป่าถูกถางเพื่อเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ แต่มีอีกหนึ่งปัจจัยที่มักถูกมองข้าม ป่าที่ถางส่วนหนึ่งถูกเตรียมใช้ปลูกถั่วเหลืองสำหรบใช้เลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลืองเป็นพืชเชิงเดี่ยวที่ปลูกกันมากที่สุดในอเมิรกาใต้ กว่าสองทศวรรษการค้าถั่วเหลืองเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลก ประเทศจีนได้ใช้ถั่วเหลืองในการขยายระบบการให้อาหารสัตว์ ประเทศในเอเชียประเทศอื่นก็ทำตาม เพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินอันเหลือเฟือของอเมริกาใต้
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เผยให้เห็นอันตรายจากการที่คน สัตว์ที่เลี้ยงเป็นอาหารและสัตว์ป่ามาอยู่รวมกัน เนื่องด้วยเชื้อโรคสามารถกลายพันธ์ ป่าทำให้เกิดโรคร้ายหลายชนิดที่คนไม่มีภูมิต้านทาน สิ่งที่ดีที่สุดที่เราควรทำคือ อยู่ให้ห่างจากบริเวณที่อันตราย ทว่าการบริโภคเนื้อสัตว์นั้นเป็นเส้นกราฟที่พุ่งขึ้นและเราต้องใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด การตอบสนองความต้องการอย่างระมัดระวังนั้น อาจไม่ใช่หนหางปฏิบัติที่จะเกิดขึ้นจริง
จำนวนประชากรที่สูงขึ้น รวมทั้งรายได้ที่สูงขึ้นฉุดให้การบริโภคเนื้อสัตว์ต่อคนสูงขึ้น จาก 43 กิโลกรัม เป็น 76 กิโลกรัมในอีก 30 ปีข้างหน้า อัตราการเติบโตคิดเป็น 76% หากเปรียบเทียบกับอัตราการบริโภคในปัจจุบัน หนึ่งในสามของเนื้อที่ถูกบริโภคคือ เนื้อหมู อีกหนึ่งในสามคือเนื้อไก่ 20% คือเนื้อวัว และที่เหลือคือ แกะ แพะ และเนื้อสัตว์อื่น ๆ องค์การสหประชาชาติประมาณการณ์ว่า ปริมาณไก่ที่เรากินจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า การบริโภคเนื้อวัวและเนื้อหมูจะสูงขึ้น 69% และ 42% ตามลำดับ สำหรับประชากรส่วนใหญ่ทั่วโลก ราคาเนื้อสัตว์ถูกลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สัมพันธ์กับรายได้ของประชากรโลก แท้จริงแล้ว ความต้องการเนื้อสัตว์สูงขึ้นในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ส่วนในประเทศที่มีรายได้สูง ความต้องการเนื้อสัตว์คงที่่หรือต่ำลง โดยเฉพาะประเทศจีน เนื่องจากจำนวึนประชากรชนชั้นกลางที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนประชากรทั้งหมด 1,400 ล้านคน ประเทศจีนจึงเป็นส่วนผลักดันหลักของเทรนด์การบริโภคนี้
ยังมีข่าวดีอีกข่าวหนึ่ง แม้ว่าเพราะพฤติกรรมมนุษย์เองที่ส่งผลให้เกิดโรคระบาดและแพร่กระจายของโรค เราสามารถพลิกสถานการณ์ได้ด้วยมือของเรา หากเราลดควาามต้องการบริโภคเนื้อลง เราจะลดความกดดันที่ต้องเอาพื้นที่มาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และปลูกพืช และยังช่วยลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของไวรัสโรคติดเชื้อจากสัตว์มาสู่คน ด้วยเหตุนี้ที่นักรณรงค์สวัสดิภาพสัตว์สามารถเข้ามามีบทบาท การศึกษาแสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจด้านสุขภาพช่วยให้คนหันมาสนใจกินอาหารจากพืชมากขึ้น ซึ่งหมายถึง การควบคุมน้ำหนัก คลอเรสเตอรอล ความดันและอื่นๆ แรงจูงใจด้านสุขภาพจะส่งผลไปถึงการลดความเสี่ยงโรคระบาดจากโรคติดเชื้อจากสัตว์ เราจำเป้นต้องเป็นกระบอกเสียงและเผยแพร่ความเกี่ยวข้องระหว่างโรคระบาดกับการบริโภคเนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Meatless Monday หรือโครงการรณรงค์ให้รับประทานอาหารวีแกน สิ่งที่เราจะบอกนั้นสำคัญมากๆ
บทความจาก https://faunalytics.org/
Comments