top of page

เกมนี้อีกนาน: ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้ได้ภายในปี 2100

* บทความนี้แปลจากงานศึกษาของ Faunalytics




การศึกษาฉบับนี้คาดการณ์แนวโน้มสู่วิถึมังสวิรัติในระดับโลก และระบุปัจจัยที่อาจขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาคสู่การลดการบริโภคเนื้อสัตว์ภายในสิ้นศตวรรษนี้

มีหลักฐานที่ชี้ชัดว่าการลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ของโลกเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากสภาพภูมิอากาศ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนบริโภคเนื้อสัตว์หลายพันล้านคนเปลี่ยนวิถีการบริโภค ปัจจัยต่างๆ เช่นวัฒนธรรม ความกดดันทางสังคมและบุคลิกภาพล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของคนๆ หนึ่งในการเลิกเนื้อสัตว์ คำถามที่สำคัญคือ ตัวแปรต่างๆ เหล่านี้มีปฎิกริยาต่อกันอย่างไรในระดับมหภาค และนักเคลื่อนไหวเพื่อสัตว์ควรจะให้ความสำคัญกับตัวแปรใดเป็นอันดับต้นๆ


การศึกษานี้ใช้ตัวแบบการพยากรณ์เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของโลกในการกินมังสวิรัติและการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมการเกษตรจนถึงปี 2100 ทั้งนี้นักวิจัยยังวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดจะมีอิทธิพลมากที่สุดต่อเปอร์เซ็นต์ของผู้ทานมังสวิรัติในระยะเวลาหนึ่ง แบบจำลองนี้มาจากทฤษฎีจิตวิทยามนุษย์และการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


นักวิจัยได้พิจารณาภาพจำลองอนาคตหลายรูปแบบซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ในการบริโภคของประชากรภายในปี 2050 โดยได้คาดการณ์ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ 4 รูปแบบ ได้แก่:


รูปแบบ 0 - รูปแบบอ้างอิง: ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ กับอาหารของผู้บริโภคเนื้อสัตว์หรืออาหารมังสวิรัติ


รูปแบบที่ 1 - สุขภาพ + รูปแบบอ้างอิง (รูปแบบ 0): ผู้รับประทานเนื้อสัตว์ทุกคนลดปริมาณเนื้อสัตว์โดยปฏิบัติตามแนวทางการบริโภคเพื่อสุขภาพ และไมมีการเปลีย่นแปลงใดๆ ในการรับประทานอาหารของชาวมังสวิรัติทั้งหมด


รูปแบบที่ 2 - สุขภาพ + วีแกน: ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ทุกคนปฏิบัติตามแนวทางการบริโภคเพื่อสุขภาพและชาวมังสวิรัติทุกคนหันมารับประทานอาหารวีแกน

รูปแบบที่ 3 - การบริโภคแบบยืดหยุ่น(Flexitarian) + วีแกน: ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ทุกคนหันมาบริโภคอาหารแบบยืดหยุ่น (บริโภคมังสวิรัติเป็นหลัก แต่ยังบริโภคเนื้อสัตว์เป็นครั้งคราว) และชาวมังสวิรัติทุกคนหันมารับประทานอาหารวีแกน


นักวิจัยยอมรับว่างานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคแบบมังสวิรัติยังมีค่อนข้างจำกัด จึงยากที่จะคาดการณ์ผลลัพธ์ที่แน่นอนในอนาคต เพื่อถ่วงดุลความไม่แน่นอนดังกล่าวนักวิจัยได้จำลองแบบทั้งหมด 10,000 แบบ โดยแต่ละแบบใช้ชุดค่านิยมที่แตกต่างกันเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ผลที่ได้คือผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของแต่ละภาพจำลองอนาคตทั้งสี่รูปแบบข้างต้น


เมื่อพิจารณาภาพจำลองอนาคตทั้งสี่รูปแบบแล้ว จำนวนผู้ทานมังสวิรัติโดยประมาณภายในปี 2100 อาจจะน้อยกว่า 5% ถึงมากกว่า 60% ของประชากรทั้งหมด เมื่อพิจารณาแบบจำลองทั้งหมด ส่วนใหญ่จำนวนผู้ทานมังสวิรัติจะอยู่ที่ราวๆ 20% หากเป็นดังที่คาดการณ์ไว้ในกรณีนี้ ก็คงจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาคไปสู่วิถีมังสวิรัติภายในสิ้นทศวรรษนี้ โดยการเปรียบเทียบแล้วการศึกษานี้ประมาณว่า 21.5% ของประชากรเป็นมังสวิรัติในปี 2010


ที่น่าสนใจคือการกินมังสวิรัติเพิ่มขึ้นอย่างมากที่สุดภายในปี 2100 นั้นเกิดขึ้นในภาพจำลองอนาคตรูปแบบ 0 (ไม่มีการเปลี่ยนแปลง) ซึ่งเกิดขึ้นเพราะข้อมูลเกียวกับผลเสียด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพซึ่งมีมาอย่างต่อเนื่อง หากสังคมยังคงบริโภคเนื้อสัตว์ในอัตราปัจจุบันจนถึงปี 2050 ภัยคุกคามด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจะชัดเจนกว่านั้น ตามทฤษฎีแล้วสิ่งนี้จะกระตุ้นให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง


ในขณะเดียวกัน ภาพจำลองอนาคตรูปแบบ 0 (รูปแบบอ้างอิง) และ รูปแบบที่ 1 (สุขภาพ + รูปแบบอ้างอิง) ส่งผลให้เกิดการปล่อยมลพิษจากการเกษตรสูงกว่า การปล่อยมลพิษจะลดลงต่ำที่ในภาพจำลองที่มีอัตราการบริโภคเนื้อต่ำ แบบจำลองนี้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้รับประทานเนื้อสัตว์ลดการบริโภคลง แม้ในกรณีที่ 40% ของประชากรเป็นจะมังสวิรัติ แต่น่ายินดีที่แบบจำลองนี้แสดงให้เห็นว่าการปล่อยมลพิษจากฟาร์มปศุสัตว์กลับสู่ระดับเดียวกับเมื่อปี 2020 ได้ไม่ว่าจะเป็นในภาพจำลองรูแบบใด แม้ประชากรจะเพิ่มขึ้นก็ตาม


นักวิจัยยังศึกษาด้วยว่าปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคมใดที่มีอิทธพลต่ออัตราการกินมังสวิรัติมากที่สุด ปัจจัยสามประการที่สำคัญอย่างยิ่งได้แก่:


1. ปฏิกิริยาของประชากรหนุ่มสาว (อายุ 15-44 ปี) ต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่การกินมังสวิรัติตั้งแต่อายุยังน้อย นักวิจัยพบว่าหลังจากประชากรส่วนหนึ่งเป็นมังสวิรัติ วิถีการบริโภคแบบนี้ก็จะกลายเป็นปรกติ หลังจากนั้นการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถึมังสวิรัติก็จะยิ่งเกิดเร็วขึ้น ไม่ว่าจุดเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วก็มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ประชากรที่มีอายุน้อยนี่เองที่เป็นกุญแจสำคัญ เพราะเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะทำตามบรรทัดฐานสังคมมากกว่า


2. ความเชื่อมั่นในตัวบุคคล (ความเชื่อในความสามารถของแต่ละตัวบุคคล ว่าจะทำพฤติกรรมอย่างใด

อย่างหนึ่งได้) ของประชากรวัยหนุ่มสาว ความเชื่อมั่นในตัวบุคคลของผู้หญิงในกลุ่มประชากรวัยหนุ่มสาวมีความสำคัญอย่างยิ่ง การศึกษานี้ตั้งสมมุติฐานว่าว่าผู้หญิงมีความเชื่อมั่นในตัวบุคคลสูงกว่าในด้านที่เกียวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคเนื้อสัตว์ ผู้หญิงมักมองว่าสิ่งแวดล้อมนิยมเป็นส่วนหนึ่งของการนิยามอัตลักษณ์ของพวกเขามากกว่าและนิยมความเสมอภาคมากกว่าผู้ชาย ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นอีกกลุ่มที่สำคัญ เนื่องจากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ใหญ่ที่สุดของประชากรวัยหนุ่มสาวเมื่อแยกตามระดับการศึกษา อย่างไรก็ดี การศึกษาฉบับใหม่ๆ ก็ระบุว่าพฤติกรรมของบุคคลหนึ่งอาจไม่ตรงกับอัตลักษณ์ที่เขาประกาศเสมอไป นักเคลื่อนไหวเพื่อสัตว์จึงควรใช้ความรอบคอบหากจะมุ่งเน้นใช้ความเชื่อมั่นในแต่ละตัวบุคคลเป็นกลยุทธในการรณรงค์ เป็นไปได้ว่าความเชื่อมั่นในมวลชน (ความเชื่อที่ว่าคนกลุ่มหนึ่งสามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้) อาจมีความสำคัญกว่าความเชื่อมั่นในตัวบุคคลเสียด้วยซ้ำ


3. ฐานเปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ตั้งใจจะเปลี่ยนมารับประทานอาหารมังสวิรัติ

การศึกษานี้มีสาระสำคัญสองประการที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนไหวเพื่อสัตว์ ประการแรก การรณรงค์อย่างตระหนักถึง group dynamics และจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรใช้แค่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมืออย่างเดียวในการรณรงค์ ประการที่สอง เราจะต้องถือว่าผู้บริโภคเนื้อสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเปลี่ยนอาหารเพื่อช่วยสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้บอกเราว่า เรายังมีเวลาเปลี่ยนแปลงบทเรียนอันสาหัสที่การปศุสัตว์ได้สอนไว้แก่เรา แต่เราจะต้องพิจารณาภาพจำลองอนาคตทั้งสี่รูปแบบที่กล่าวมาข้างต้นพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

Comments


bottom of page