top of page

เทรนด์ไข่ไก่ไร้กรงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในลาตินอเมริกา



หลังจากการเจรจากับซิเนอร์เจีย แอนิมอล บริษัทสามแห่งในลาตินอเมริกาได้ประกาศว่าพวกเขาจะเปลี่ยนไปใช้ไข่ไก่ปลอดกรง ทั้งสามบริษัท ได้แก่ Pif Paf Alimentos (จากประเทศบราซิล) Productos La Locura (จากประเทศโคลอมเบีย) และ El Trigal (จากประเทศอุรุกวัย) ได้ประกาศนโยบายไข่ไก่ไร้กรง ซึ่งมีผลใช้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน


บริษัทสัญชาติบราซิล Pif Paf ที่ส่งออกผลิตภัณฑ์หลายพันชิ้นจากประเทศอาร์เจนตินาไปยังประเทศญี่ปุ่น ได้ให้คำมั่นที่จะใช้คอกขังรวมสำหรับแม่สุครที่ตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2029 ถือเป็นการยุติการใช้คอกยืนซองสำหรับแม่สุกรที่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ Pif Paf ยังได้ประกาศใช้นโยบายอื่นๆ เพื่อพัฒนาสวัสดิภาพของแม่หมู เช่น การเลิกใช้ระบบเจาะหูสัตว์ และการเปลี่ยนไปใช้ระบบที่เป็นมิตรต่อสุกรแบบ 100%


ในประเทศบราซิล ฟาร์มส่วนใหญ่ยังคงใช้คอกยืนซอง สุกรเพศเมียต้องอยู่ในพื้นที่คับแคบอย่างโดดเดี่ยวตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ หรือประมาณ 28 วันถึง 3 เดือน แม่หมูไม่สามารถแม้แต่จะหันตัว และยังถูกจับผสมเทียมประมาณสามครั้งต่อปี นั่นหมายความว่า แม่หมูเหล่านี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตในกรงขังเดี่ยว


เมื่อเร็วๆ นี้ เครือคาเฟ่และร้านขนมหวาน La Locura ซึ่งมีมากกว่าร้อยสาขาในประเทศโคลอมเบียได้เผยแพร่คำประกาศนโยบายไข่ไก่ไร้กรงของบริษัทเมื่อปี 2019 และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ทางบริษัทได้จัดซื้อเพียงไข่ไก่ปลอดกรงเท่านั้นเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด


บริษัทสัญชาติอุรุกวัย El Trigal ซึ่งก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1948 ก็ได้ประกาศที่จะหยุดใช้ไข่ไก่จากฟาร์มระบบกรงตับสำหรับทุกผลิตภัณฑ์ บริษัทแห่งนี้ ซึ่งจำหน่ายคุกกี้และผลิตภัณฑ์อาหาร ดำเนินงานในสหรัฐอเมริกา บราซิล และปารากวัยเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงไปใช้ไข่ไก่ปลอดกรงจะแล้วเสร็จภายในปี 2025


ระบบกรงตับถือเป็นหนึ่งในการปฏิบัติที่โหดร้ายมากที่สุดในการปศุสัตว์ ในระบบที่เร่งผลผลิตเช่นนี้ แม่ไก่ไข่แสดงหลายๆ พฤติกรรมตามธรรมชาติ เช่น กางปีกออกจนสุด จิก และทำรังไม่ได้ เพราะถูกขังในที่แคบ แม่ไก่จึงมีความเครียดสูงและเสี่ยงที่จะเป็นโรคมากขึ้น


ซิเนอร์เจีย แอนิมอลใช้การพูดคุย การเจรจา และการสร้างความตระหนักรู้ผ่านการรณรงค์เพื่อผลักดันให้บริษัทอาหารใหญ่ๆ ใช้นโยบายไข่ไก่ไร้กรงในห่วงโซ่อุปทาน




bottom of page