top of page

กินผักและผลไม้มากขึ้นช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมในประชากรผู้สูงอายุในไทยได้


ด้วยความก้าวหน้าในด้านการดูแลสุขภาพและโภชนาการ ทำให้มนุษย์สามารถมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ ผู้คนทั่วโลกต่างมีชีวิตยาวขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับช่วงต้นทศวรรษ 1900 แต่ถ้าเราไม่ดูแลร่างกายอย่างเหมาะสมเมื่อเราอายุมากขึ้น สุขภาพสมองของเราก็อาจได้รับผลกระทบ ซึ่งนำเราไปสู่คำถามที่ว่า เราสามารถทำอะไรเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้บ้าง?


ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแห่งประเทศไทย ประเทศไทยได้กลายเป็น 'สังคมสูงอายุ' ในปี พ.ศ. 2565 โดยประชากร 20-30% มีอายุมากกว่า 60 ปี หรือในทุกๆ 5 คน อย่างน้อยหนึ่งคนจะเป็นผู้สูงอายุ


และน่าเสียดายที่เมื่อเราฉลาดและอายุมากขึ้น โรคที่เกี่ยวข้องกับวัยก็เริ่มปรากฏขึ้น หนึ่งในนั้นคือโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นภาวะสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่ทำให้ความสามารถในการจดจำ คิด หรือตัดสินใจลดลง ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงสาธารณสุขระบุว่าจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ไทยมีประมาณ 600,000 คน และคาดว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่าหนึ่งล้านคนในปี พ.ศ. 2573


ป้องกันภาวะสมองเสื่อม

ความชราเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราต่อต้านโรคที่เกี่ยวข้องกับความชราได้ คณะกรรมการอีเอที แลนเซ์ท (EAT-Lancet) เผยว่า 40% ของกรณีของภาวะสมองเสื่อมสามารถป้องกันหรือทำให้ล่าช้าได้อย่างมีนัยสำคัญด้วยการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ ทางไลฟ์สไตล์ เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งงานวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์โดย Nature บอกเราถึงวิธีการทำเช่นนั้น


การศึกษาติดตามผลระยะยาวนี้วิเคราะห์ผลกระทบของการออกกำลังกายและการบริโภคผักและผลไม้ที่มีต่อสุขภาพสมองในผู้เข้าร่วมชาวไต้หวัน 4,440 คนที่มีอายุมากกว่า 53 ปี งานวิจัยเผยว่าการบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณมากช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมถึง 40% ในขณะเดียวกัน การออกกำลังกายเป็นประจำก็สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงถึง 60% การศึกษาเผยว่า เมื่อรวมกันแล้ว พฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้ถึง 63%


เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมบางประเภทยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ การป้องกันจึงเป็นกุญแจสำคัญ และหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าดูแลสุขภาพของคุณได้ ก็คือการรับประทานอาหารจากพืชเป็นหลัก เข้าร่วมโครงการท้าลอง 22 วันของเราวันนี้เพื่อรับสูตรอาหารแพลนต์เบส เคล็ดลับด้านโภชนาการ และคำแนะนำจากนักกำหนดอาหารฟรี





Comments


bottom of page