top of page

รายงานยูเอ็นชี้ ต้องเปลี่ยนแปลงสู่วิถีวีแกนหากจะต่อสู้กับวิกฤตสภาพอากาศ

มีข้อมูลรั่วจากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งเป็นหน่วยงานสำหรับประเมินหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับภาวะสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า หากเราไม่เปลี่ยนวิธีการผลิตอาหารหรือจัดสรรที่ดิน แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรักษาอุณหภูมิของโลกให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย รายงานระบุว่า “ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้ดินเสื่อมสภาพรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากฝนที่ตกอย่างหนัก น้ำท่วมบ่อยและรุนแรง ความร้อนสูง ลม ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และคลื่นลมทะเล” โลกจะไปถึงจุดที่อาจจะไม่สามารถกลับไปเป็นอย่างเดิมได้ เดือนมิถุนายนของปี 2562 ถือเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในโลกเท่าที่มีการบันทึกไว้ ข้อมูลของ European Satellite Agency ด้วยอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ 2 องศาเซลเซียส ทั่วทั้งโลก อุณหภูมิเฉลี่ยไม่เคยสูงขนาดนี้มาก่อน เราเคยพูดถึงรายงานอีกฉบับนึงมาแล้ว ซึ่งเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ฟิลลิป แอลสตัน เขาให้เหตุผลว่าวิกฤตอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอาจจะเสี่ยงต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและอาจเกิด “การแบ่งชนชั้นด้านภูมิอากาศ” (climate apartheid) หรืออาจทำให้สิทธิด้านพื้นฐานของมนุษย์ต้องจบสิ้น” แอลสตันกล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศเป็นภัยคุกคามที่จะทำให้ความก้าวหน้าด้านการพัฒนา สุขภาพของประชากรโลก และการลดความยากจนตลอด 50 ปีที่ผ่านมาสูญเปล่า”

ถึงเวลาแล้วที่จะต้องร่วมต่อสู้วิกฤตสภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อพูดถึงการต่อกรกับก๊าซเรือนกระจก นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมสภาพอากาศ (รวมถึงคนทุกคน จริง ๆ นะ) จะต้องมองให้ไกลกว่ารถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตไฟฟ้า ไม่อย่างนั้น เราจะล้มเหลว เนื่องจากเกตษรกรรม การทำป่าไม้ และการใช้ที่ดินเพื่อกิจการต่าง ๆ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกือบ 25% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ผลิตออกมาทั้งหมดทั่วโลก การปศุสัตว์เป็นตัวการสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มากกว่าก๊าซที่เกิดจากภาคคมนาคมทั้งโลกรวมกัน ในปี 2016 บริษัทผู้ผลิตเนื้อใหญ่สามรายของโลกคือ JBS, Cargill และ Tyson ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศเสียอีก บริษัทผู้ผลิตเนื้อรายใหญ่ห้ารายของโลกสร้างมลพิษมากกว่าบริษัทน้ำมันรายใหญ่ เช่น Exxon, Shell และ BP รายงานใหม่ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ย้ำว่าที่ดินจะต้องได้รับการจัดสรรอย่างยั่งยืน จะได้ลดปริมาณก๊าซคาร์บอน พื้นที่ดินพรุจะต้องฟื้นฟูด้วยการหยุดระบบระบายน้ำ ประชากรโลกต้องงดการบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อลดปริมาณก๊าซมีเทน และจะต้องลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งลง การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคมาเป็นแบบมังสวิรัติหรือวีแกนเป็นทางออกที่สำคัญ อ้างอิงจากรายงาน “การบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืน เช่น อาหารจากธัญพืชเนื้อหยาบ ถั่วประเภทถั่วฝัก และผัก รวมถึงเมล็ดพืชเป็นโอกาสสำคัญที่จะลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก” คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ระบุ สหประชาชาติสนับสนุนอาหารทางเลือกที่มาจากพืชผักมาเป็นระยะเวลานานแล้ว เมื่อเร็วๆ นี้ยังได้เผยแพร่วีดีโอเรื่อง “อาหารไร้เนื้อเป็นเทรนด์มาแรงระดับโลก” และให้เหตุผลว่าการลดการบริโภคเนื้อสัตว์สำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการเสื่อมสภาพของสิ่งแวดล้อม คุณเป็นห่วงสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องทำอะไรสักอย่าง เปลี่ยนมาทานอาหารอย่างยั่งยืนและอย่างความเห็นอกเห็นใจต่อสัตว์ร่วมโลกเช่นอาหารวีแกนกันดีกว่า ถ้าหากคุณใช้ชีวิตแบบวีแกนอยู่แล้ว หรืออยากจะช่วยเราช่วยชีวิตสัตว์และต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม ขอเชิญมาเข้าร่วมเครือข่ายอาสาสมัครประเทศไทย คลิกที่นี่เลยค่ะ!

bottom of page