top of page

งานวิจัยเผย แนวปฏิบัติด้านการบริโภคของประเทศ ส่วนใหญ่ในโลก ไม่ดีต่อสุขภาพและไม่ยั่งยืน

วลาเลือกรับประทานอาหารในแต่ละวัน เราได้ทำตามแนวปฏิบัติด้านการบริโภคของทางการอย่างเคร่งครัดหรือเปล่า? ถ้าทำ เราคงต้องทบทวนกันดูอีกทีแล้วว่า แนวปฏิบัตินั้นเป็นผลดีต่อสุขภาพและต่อโลกหรือไม่?

นักวิจัยมากมายได้วิเคราะห์แนวปฏิบัติเรื่องอาหารการกินใน 85 ประเทศ เพื่อประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่เกิดจากบริโภคหมวดหมู่อาหารที่แนะนำ ผลการวิจัยเป็นที่น่าตกใจว่า ในจำนวน 85 ประเทศนั้น ไม่มีประเทศใดเลย ที่แนวปฏิบัติเรื่องอาหารการกินจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือสร้างความยั่งยืนมากพอ ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สหประชาชาติวางไว้


นักวิจัยได้ให้คำแนะนำไว้มากมาย คำแนะนำหนึ่งในนั้นคือเรื่องว่า แนวปฏิบัติเหล่านั้นน่าจะบรรจุคำแนะนำที่ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ โดยระบุให้ลดการกินอาหารที่ทำจากสัตว์ อย่างอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์และนม เพราะเห็นแก่สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้กินอาหารที่ทำจากพืชมากขึ้น อย่างอาหารพวกธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ผักผลไม้ต่างๆ ถั่วและเมล็ดพืช รวมถึงถั่วเมล็ดแห้ง เพื่อจะได้มีนิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพ


เราอาจตั้งคำถามว่า เหล่านักวิจัยพบบทสรุปเช่นนี้ได้อย่างไร? คำว่า “ดีต่อสุขภาพ” และ “ยั่งยืน” นั้น ใช้มาตรฐานใดมาวัด?



สุขภาพ


เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติข้อหนึ่งระบุว่า ต้องลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคเรื้อรังลงหนึ่งในสาม และเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องระบุประเด็นนี้ในทุกๆ ข้อปฏิบัติด้านการบริโภคของ งานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่าว่า การบริโภคเนื้อแดงที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูปและเนื้อแปรรูปในปริมาณสูง และการบริโภคผักผลไม้ต่างๆ ถั่วและเมล็ดพืช ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี รวมถึงถั่วเมล็ดแห้งในปริมาณต่ำ เป็นปัจจัยนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ผลจากงานวิจัยนี้ไม่น่าประหลาดใจนัก มีงานวิจัยมากมายได้พิสูจน์แล้วถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารที่ทำจากสัตว์ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายต่อหลายโรค เช่น โรคมะเร็ง และ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น


การทบทวนงานวิจัยจากองค์การอนามัยโลกเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2557 พบว่าการบริโภคทั้งเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด แต่งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้วิจัยไปไกลกว่านั้น โดยเปรียบเทียบการบริโภคเนื้อสัตว์ และการบริโภคปราศจากเนื้อสัตว์ พบว่า ทั้งเนื้อแดงและเนื้อขาวเป็นตัวเพิ่มระดับแอลดีแอล คอเลสเตอรอล หรือเรียกโดยทั่วไปว่า คอเลสเตอรอลเลว


มีงานวิจัยอยู่อีกจำนวนมากที่ได้บทสรุปไปในทางเดียวกับคำแนะนำเรื่องอาหารดังกล่าว โดยบ่งชี้ว่า นมไม่ได้ดีต่อสุขภาพอย่างที่หลายๆ คนคิดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากนม ไม่เพียงแค่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งหลากชนิด แต่ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะกระดูกหัก โรคเบาหวาน และการเสียชีวิตในอัตราสูง บางประเทศจริงจังกับความจริงในข้อนี้ อย่างเช่นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2562 ประเทศแคนาดาได้ถอดคำแนะนำให้ประชาชนบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากนมเป็นประจำทุกวัน ออกจากแนวทางการบริโภคอาหารแห่งชาติ หลังจากที่แนะนำให้ประชาชนในชาติบริโภคนมวันละหลายหน่วยบริโภคมานานเกือบ 80 ปี!

สิ่งแวดล้อม


ในการประเมินว่าแนวปฏิบัติด้านการบริโภคยั่งยืนนั้นขนาดไหน เหล่านักวิจัยประเมินว่าหมวดหมู่อาหารหลักที่แนะนำไว้ในแนวปฏิบัติสอดคล้องกับเป้าหมายด้านสุขภาพของโลกและเป้าหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ปัจจัยที่นำมาใช้ในการพิจารณา เช่น การปล่อยกาซเรือนนกระจก การใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์จากน้ำในการผลิตอาหาร และทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในการนำเข้า ส่งออก และแปรรูปอาหาร เป็นต้น

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า อาหารที่ทำจากสัตว์ส่วนใหญ่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเอาเสียเลย! สัตว์เศรษฐกิจที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารมีส่วนต้องรับผิดชอบในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเกิดจากน้ำมือมนุษย์ระหว่างที่ร้อยละ 14.5% และร้อยละ 18 มี รายงานจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่า ในกลุ่มสัตว์เศรษฐกิจที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร อาหารประเภทเนื้อมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 41 ในขณะที่การผลิตนมมีส่วนที่ร้อยละ 20 ในการปล่อยก๊าซชนิดเดียวกัน และผลิตภัณฑ์ทั้งสองประเภทนั้นใช้ประโยชน์ที่ดินและน้ำปริมาณสูง

ผลกระทบของเนื้อแดงต่อสิ่งแวดล้อมมีการกล่าวถึงไปมากต่อมากแล้ว การผลิตไข่นั้น ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในน้ำและดิน นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโอวิเอโด ประเทศสเปน ได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบของการผลิตไข่โดยการเลี้ยงไก่แบบเน้นผลผลิต ผลการวิจัยพบว่า การผลิตไข่ไก่ด้วยวิธีนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างสูงกับน้ำและดิน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการจัดการของเสีย และอาหารไก่

ดังนั้น หากมองจากมุมมองด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและมุมมองของมนุษย์ แนวปฏิบัติด้านอาหารการกินควรแนะให้ผู้คนจำกัดการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากสัตว์ในเกือบทุกบริบท และเพิ่มการบริโภคอาหารที่ทำจากพืชล้วนๆ


แนวปฏิบัติด้านการบริโภคของประเทศไทยเป็นอย่างไร?


แนวปฏิบัติด้านการบริโภคของประเทศไทยระบุไว้ว่า ประชากรไทยได้รับการส่งเสริมให้กินอาหารหลากหลาย โดยเน้นบริโภค “อาหารหลักห้าหมู่” ในปริมาณที่พอเหมาะ แนวปฏิบัติฯ ยังส่งเสริมให้ประชากรบริโภคผักผลไม้ให้มากพอ และยังแนะนำไว้อย่างชัดเจนว่าให้หลีกเลี่ยง “เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง” อย่างไรก็ดี แนวปฏิบัติฯ ยังให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์นม ว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ และส่งเสริมให้คนทุกวัยและทุกช่วงชีวิต (หญิงกำลังตั้งครรภ์ เด็กวัยเรียน วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงวัย) บริโภคผลิตภัณฑ์นม “วันละ 1-2 แก้ว” ซึ่งงานวิจัยที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ถือว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ


กล่าวโดยสรุป อาหารการกินของทุกคนสามารถทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้นได้ หากเราบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากพืชมากขึ้น ต้องลด ละ หรือจะให้ดียิ่งไปกว่านั้น เลิกกินผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากสัตว์ และเราจะสามารถช่วยโลกได้มากขึ้นอีก ด้วยการสนับสนุนเกษตรกรท้องถิ่น และซื้ออาหารที่ผลิตและหาได้ในท้องถิ่น เพราะนั่นจะลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือ ผลรวมของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากการขนส่งลงได้

ถ้าอยากเริ่มกินอาหารที่ทำจากพืช แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ขอเชิญลงชื่อในโครงการท้าลอง 22 วันเพื่อรับคำแนะนำประจำวัน แรงสนับสนุน และสูตรอาหารแบบวีแกน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนได้ที่ www.thaichallenge22.org

bottom of page